บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 18

สัมมนาธรรมทูต คณะชีวิตผู้แพร่ธรรม 

    สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน เที่ยวนี้ผมจะขอแบ่งปันการประชุมหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับคณะธรรมทูต เราเรียกว่า MISAL(Missionary Society of Apostolic Life) หรือ ธรรมทูตคณะชีวิตผู้แพร่ธรรม เป็น การสัมมนาเฉพาะคณะธรรมทูตทั่วโลก ซึ่งปีนี้จัดที่กรุงลอนดอน โดยคณะธรรมทูตมิลฮิล(Mill Hill Missionary)เป็นเจ้าภาพ เมื่อ 6-10 พฤษภาคม ที่ผ่านมา{besps}documents/frdenarticle/acticle18{/besps}

 

บรรยากาศสวดเช้าด้วยกัน

สิ่งหนึ่งที่ธรรมทูตทุกคนต้องเรียนรู้คือ เราเป็นธรรมทูต แต่เราไม่เคยทำงานคนเดียว การ สร้างกลุ่มที่เป็นคณะ ทำให้เรามีพลังมากขึ้น ในการประกาศพระวรสาร ในพระวรสารน.ยอห์นจะเห็นว่า พระเยซูเจ้าภาวนา เพื่ออัครสาวกเป็นหนึ่งเดียวกัน เพื่อโลกจะรู้ว่าพระบิดาทรงส่งพระองค์มา ความเป็นหนึ่งแบบหนึ่งที่เห็นได้คือ การรวมกันเป็นองค์กร เพื่องานแพร่ธรรม ซึ่งนอกจากชีวิตของ คณะนักบวชแล้ว กลุ่มชีวิตผู้แพร่ธรรม ก็เป็นอีกรูปแบบชีวิตหนึ่ง เรื่องหลักที่แตกต่างกันคือ  คณะนักบวช จะมีการถวาย “ศีลบน”แด่พระเป็นเจ้า ส่วนคณะชีวิตผู้แพร่ธรรม เรามีแค่การให้ “คำสัญญา” ในการเป็นธรรมทูต

บรรยากาศสัมมนา

 คุณพ่อโทนีอธิการใหญ่ของคณะธรรมทูตมิลฮิลได้บอกว่าในพระศาสนจักร มีกลุ่มคณะ ธรรมทูตนี้มานานแล้ว บางคณะเป็นร้อยๆ แต่การประชุมแบบนี้ เพิ่งจัดมาได้ประมาณสี่สิบปี(ก็ยังอายุ มากกว่าคณะธรรมทูตไทย) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่าย การแบ่งปันทั้งด้านการทำงานและ ประสบการณ์ รวมทั้งเป็นการช่วยกันดูไตร่ตรองสถานการณ์ในโลก เพื่อปรับทิศทางการทำงานธรรมทูต โดยปกติจัดที่ไหน ที่นั่นก็จะเป็นเจ้าภาพ คือจัดการหัวข้อการประชุม การติดต่อ สถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ฯลฯ ซึ่งปกติจะจัดสลับกันปีต่อปีคือ ระดับโลกสลับกับระดับทวีป คือ ปีนี้จัดระดับโลก ปีหน้าจะเป็นระดับทวีป และในปีหน้านี้ ประเทศไทย จะเป็นเจ้าภาพครับสำหรับทวีปเอเชีย

การสัมมนาในปี 2014 นี้ มีสมาชิกมาร่วม41 ท่าน รวมผู้บรรยายและผู้ประสานงาน ทั้งหมด ก็ 47 ท่าน ซึ่งมาจากทั่วทุกทวีปในโลก 23 คณะ มีตัวแทนจากสันตะสำนัก กระทรวงประกาศพระสาร สู่ปวงชน มาร่วมด้วยหนึ่งท่าน ส่วนใหญ่ที่มาร่วมจะเป็นอธิการใหญ่ของคณะธรรมทูต หรือผู้บริหารคณะ ซึ่งมีแต่ผมเท่านั้น ที่เป็นตัวแทนอธิการคณะ ซึ่งถือว่าคณะธรรมทูตไทย มีอายุน้อยที่สุดในกลุ่มก็ว่าได้

สำหรับในฝั่งของเอเชียเรา มีมาเข้าร่วม 5 คณะ คือ คณะธรรมทูตของ นักบุญฟรังซิส(อินเดีย), คณะธรรมทูตนักบุญโทมัส(อินเดีย), คณะธรรมทูตฟิลิปปินส์, คณะธรรมทูตเกาหลี และคณะธรรมทูตไทย ซึ่งยังขาดอีกสองคณะเท่าที่ทราบและไม่ได้มาคือ จากอินเดียและจากพม่า

ผู้ร่วมสัมมนาเป็นอธิการใหญ่จากทุกคณะทั่วโลก

การประชุม จัดเป็นแบบบรรยาย จากวิทยากรสามท่าน มีถามตอบแบบย่อยและรวม มีการแบ่ง กลุ่มย่อยเพื่อแบ่งปันความคิด มีการประชุมกลุ่มในระดับทวีป การการประเมินผล การเตรียมการสำหรับ ครั้งต่อไป มีกิจกรรมพิเศษคือ การไปสวดทำวัตรเย็นร่วมกันที่โบสถ์เซนต์ปอล ของแองกลีกัน และมิสซา ร่วมกันที่อาสนวิหารเวสมินส์เตอร์ มีชมกรุงลอนดอนด้วยกันโดยรถบัส และการทานอาหารด้วยกัน สำหรับหัวข้อที่บรรยายในครั้งนี้คือ เป็นเรื่องที่สอดคล้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ในช่วงระยะเวลานี้คือ “50 ปี พันธกิจหลัง พระสังคายนาวาติกันที่สอง”

สำหรับเนื้อหาสัมมนา มีการพิจารณางานแพร่ธรรมของพระศาสนจักร ทั้งก่อน และหลังพระ สังคายนาวาติกันที่สอง ซึ่งเราจะเห็นว่า งานธรรมทูตในปัจจุบันกว้างมากขึ้น ไกลมากขึ้น ทั้งในเรื่อง รูปแบบและความคิด การเปลี่ยนแปลงตัวเองของคณะธรรมทูต เพื่อให้สอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนแปลง ไปเร็วมาก ยกตัวอย่างเช่น การส่งธรรมทูตไปยังดินแดนแต่ก่อน มักโดดเดี่ยว เป็นคนที่ลุย เข้าไปใน ดินแดนที่ป่าเถื่อน แต่นั่นเป็นภาพเก่าๆ หลังสังคายนาวาติกัน งานธรรมทูตกลับต้องมองงานในเขต เมืองมากขึ้น เพราะมีคนอาศัยมากขึ้น การติดต่อสื่อสารเร็วมากขึ้น การอพยพเคลื่อนย้ายผู้คนง่าย และเร็วมากขึ้น ซึ่งหมายถึงการเปลี่ยนแปลงด้านจำนวนของผู้มีความเชื่อต่างๆ เขตหนึ่งไปสู่อีกเขตหนึ่ง         เรื่องที่มีพูดแล้ว แต่เน้นใหม่ให้เป็นรูปร่างมากขึ้นในการสัมมนาครั้งนี้คือ “การเสวนา” ซึ่งมีหลาย รูปแบบ ทั้งการเสวนาระหว่างนิกายคริสต์ด้วยกัน การเสวนากับคนต่างศาสนา การเสวนาด้านวัฒนธรรม กับคนยากจน คนอยู่นอกสังคม การเสวนากับสังคมออนไลน์ ฯลฯ ซึ่งเมื่อกลับมามองงานที่เรากำลังทำ กันอยู่ ซึ่งมีทั้งรูปแบบเก่าและรูปแบบใหม่ สิ่งที่เป็นความคิดใหม่ของพระสังคายนาคือ พระศาสนจักร ไม่อาจปิดตัวเอง อยู่กับตัวเองหรือแม้แต่การประณามคนที่ไม่ใช่พวกเราเองได้อีกต่อไป

พระสมณกฤษฏีกา ที่เป็นหัวใจหลักอันแรกคือ Ad Gentes (ว่าด้วยงานธรรมทูตของพระ ศาสนจักร-1965) และได้รับการเพิ่มเติม ในพระธรรมนูญ EvangeliiNuntiandi (การประกาศพระวรสาร ในโลกสมัยใหม่-1975)  RedemptorisMissio(พันธกิจพระผู้ไถ่-1990) มาถึงสารลิขิตเตือนใจ Evangelii Guadium (ความชื่นชมยินดีแห่งข่าวดี-2013) มีจุดเน้นที่ค่อยๆพัฒนามาทีละเล็กละน้อย จากการที่ พระศาสนจักรเริ่มสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรอื่น ในการประกาศข่าวดี เพราะผู้นับถือพระ เยซูเจ้าเหมือนกันและแตกแยกกันนั้น ไม่ดีนักสำหรับการประกาศข่าวดี และต่อมาก็ค่อยๆ เริ่มใช้การ เสวนาด้วยความเคารพ แต่ก็ยังไม่ทิ้งจุดยืนของตนเองคือ ความรอดพ้นมาจากพระเยซูเจ้าเท่า นั้น และโดยเฉพาะพระสันตะปาปาฟรังซิส ที่ให้พระศาสนจักรออกจากกรอบตัวเอง และเขตปลอดภัย ของตัวเองให้มากกว่านี้

นอกจากนี้ คือการคุยกันนอกรอบ เวลานอกตารางเวลา ซึ่งทำให้เรามีความรู้จักกันมากขึ้น สำหรับผมแล้ว ถือว่าเป็นประสบการณ์ใหม่มากๆ กับการได้พบอธิการใหญ่หรือรองอธิการ ของคณะ ต่างๆ ซึ่งรวมทั้งคณะดังๆที่มาทำงานในประเทศไทยและประเทศกัมพูชา ผมได้พบกับคุณพ่อมิเกล ธรรมทูตจากเสปน ที่ทำงานในประเทศประมาณสิบปี พ่อดีใจที่ได้พูดภาษาไทยอีกครั้งหนึ่ง ตอนนี้พ่อ รับผิดชอบเรื่องงานสื่อ โดยเฉพาะงานด้านนิตยสารของคณะ

หลังการประชุมได้ไปเยี่ยมคุณพ่อมงคล เจริญธรรม สมาชิกคณะธรรมทูตเบธาราม ซึ่งปัจจุบัน เป็นเจ้าอาวาสอยู่ที่วัดพระนามเยซูที่เบอร์มิงแฮม ผมได้ร่วมถวายมิสซากับสัตบุรุษของคุณพ่อมิสซาหนึ่ง จากทั้งหมด 3 มิสซาในวันอาทิตย์ และไม่ลืมที่จะยอดเรื่องฟุตบอลตอนประกาศท้ายมิสซาด้วย เพราะ เรื่องนี้เป็นที่ขึ้นสมองมาก แต่ความเป็นอังกฤษคือ แม้จะต่างทีมกัน แต่ก็เคารพในความชอบของแต่ละ คน พวกเขาเคารพสิทธิส่วนตัวมาก และมีความเสียสละแก่ส่วนรวมสูง อย่างตอนขากลับ ผมจะเลยเวลา ขึ้นรถแล้ว เลยต้องรีบ คุณลุงท่านหนึ่งก็ให้ผมขึ้นรถก่อน  ซึ่งอันที่จริงรถจะออกต่อเมื่อทุกคนขึ้นรถเรียบ ร้อยแล้วเท่านั้น ก็เป็นความมีวัฒนธรรมของคนที่นี่มาก และเพราะเหตุนี้ คนต่างชาติเข้ามาอาศัยในเมือง ต่างๆ ของอังกฤษมาก จนแย่งงานเค้าทำเกือบหมด แถมคนอังกฤษต้องจ่ายภาษีสูง เพื่อเลี้ยงคนที่ไม่ ทำงานด้วย เรื่องนี้ก็คนเข้ามาอยู่ก็น่าจะเคารพคนท้องถิ่นเหมือนกัน ไม่ใช่เรียกร้องสิทธิจนเกินขอบเขต

ที่จริงผมมีเวลาสั้นมาก จนแทบไม่ได้ไปไหนเลย แต่ต้องรีบกลับมาที่เขมรต่อ พร้อมกับการสรุป รายงานการประชุมที่ต้องรายงานอธิการและสมาชิกให้ทราบ ถึงหัวข้อที่สัมมนาที่มานี้ในการประชุมใหญ่ ประจำปี คราวนี้ก็ขอฝากข้อเตือนใจจากพระสมณสารพันธกิจพระผู้ไถ่ ที่บอกว่า งานธรรมทูต ไม่ใช่ เป็นของคนที่ถูกเลือกมาเป็นพิเศษเท่านั้น แต่เป็นหน้าที่ของสมาชิกทุกคนในพระศาสนจักร ที่รับศีลล้าง บาป และถ้าพระศาสนจักรไม่ประกาศพระวรสาร ก็ไม่ใช่พระศาสนจักรแล้ว…จึงเป็นข้อเรียกร้องสำหรับ ทุกคนจริงๆ

admin@admin.com

About Author

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 16

การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน           งานธรรมทูต คืองานประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระอาณาจักรของ พระเจ้า เราเห็นไม่ได้ แต่ถ้าที่ใดมีกลุ่มคริสตชน นั่นก็เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เรามีความหวังที่จะได้เห็น พระอาณาจักรของพระเจ้าตรงนั้น   พระศาสนจักรคือ เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ของพระอาณาจักรพระเจ้า           ในเขตวัดที่ผมดูแลอยู่นั้น กำลังมีกลุ่มคริสตชนใหม่เกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มที่จะแบ่งปันให้ผู้อ่านฉบับนี้ คือ กลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน
บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 1

ความเชื่อ ที่เป็นชีวิต ของ น.เลโอปอลโด (แห่งปาดัว)        สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เร่ิมต้นปี ก็เป็นเวลาที่ดี ที่เราจะเร่ิมต้นรื้อฟ้ืนถึงความเชื่อ เของเรากันอีกครั้งนะครับ ซึ่งทุกๆกิจกรรมของเรา สามารถโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้ทั้งส้ิน ผ่านทางการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกเราแต่ละคน