ซิสเตอร์ กัลยา ฉัตรบรรยงค์

ปี 2000-2014

ซิสเตอร์ กัลยา ฉัตรบรรยงค์

ซิสเตอร์คณะผู้รับใช้ฯ ร่วมงานคณะธรรมทูตไทย ในประเทศกัมพูชา

   ซิสเตอร์เป็นสมาชิกรุ่นที่สองของคณะผู้รับใช้ฯ ที่ได้เข้ามาทำงานธรรมทูตในเขมร เมื่อปี 2000 พื้นที่ที่ได้รับมอบหมายจาก คพ.เจ้าอาวาสให้ดูแลคือ หมู่บ้านกอมปงโก เมื่อต้นเดือนสิงหาคม 2008 คพ.วินัย ซึ่งเป็นพระสงฆ์เขมร ได้กลับจากการศึกษาต่อที่ฝรั่งเศส กลับมารับผิดชอบที่หมู่บ้านนี้อีกครั้งหนึ่ง และได้ทำงานร่วมกัน

สภาพทางภูมิศาสตร์

    หมู่บ้านกอมปงโก เป็นหมู่บ้านคริสตังเก่าแก่ ก่อนสงคราม มีคพ.เวียนเน (เอ็มอีพี) ดูแลรับผิดชอบโดยมีซิสเตอร์ชาวเวียดนามเป็นผู้ช่วย ช่วงสงครามวัดและกลุ่มคริสตชนถูกทำลาย คริสตชนกระจัดกระจายไปตามที่ต่างๆ และเริ่มใหม่อีกครั้งหลังสมัยเขมรแดง มีพระสงฆ์และซิสเตอร์ที่ค่อยๆ กลับมา เริ่มแรกใช้บ้านของคริสตชนเป็นที่ประกอบพิธีกรรมและภาวนา ในสมัย คพ.วีรชัย ที่อยู่ที่นี่ ในช่วงปี 1994 ได้สร้างวัดไม้หลังหนึ่ง และก็ใช้เรื่อยมาจนถึงทุกวันนี้
   

     กลุ่มคริสตชนที่นี่ค่อนข้างใหญ่ คือมีราว 70-80 ครอบครัว หรือคริสตังราว ๆ 200-300 คน ทุกวันนี้มีการสอนคำสอนทุกวันอาทิตย์ มีกลุ่มเด็กประมาณ 60 คน และเยาวชนประมาณ 50 คน มีคำสอนผู้ใหญ่ประมาณ 10 คน ปัสกาปี 2008 ที่ผ่านมา ผู้รับศีลล้างบาป 11 คน และรับศีลมหาสนิทครั้งแรก 21 คน ซึ่งเป็นเยาวชนและผู้ใหญ่ ปัจจุบัน ไม่มีโปรดศีลล้างบาปเด็กเล็กที่นี่

กิจกรรมที่ได้ทำ

งานด้านคำสอน

– เตรียมและติดตามงานด้านการสอนคำสอน ซึ่งปัจจุบันมีเยาวชน ที่สมัครใจช่วยสอนคำสอน 8 คน
– มีครูคำสอนที่เป็นผู้ใหญ่ ในหมู่บ้านนี้จำนวน 4 คน
กลุ่มครูคำสอนนี้จะมีการประชุมกลุ่มและเตรียมการสอนคำสอนอย่างน้อย 2 เดือนต่อครั้ง นอกนั้นจะเป็นการอบรมตามครั้งคราว โดยเชิญวิทยากรจากพนมเปญหรือส่งครูไปร่วมสัมมมนา

ปัญหาที่พบคือ

    ครูที่เป็นเยาวชน ส่วนใหญ่เพิ่งรับศีลล้างบาป และมีเวลาฝึกน้อย และมีช่วงเวลาทำงานแค่ 2-3 ปี ก็ต้องออกจากหมู่บ้าน ไปทำงานที่อื่น ซึ่งต้องฝึกครูใหม่แทนอีก
ข้อดีคือ ช่วยผลักดันเยาวชนที่รับศีลล้างบาปแล้ว ได้เกิดความสนใจอยากช่วยวัดด้วยความเต็มใจและเสียสละ(ไม่มีเงินเดือน) ครูที่เป็นผู้ใหญ่จะช่วยกันสอนคำสอนกับซิสเตอร์มีครูคนหนึ่งช่วยสอนมา 13 ปีแล้ว

งานกลุ่มต่างๆ

–     กลุ่มสงเคราะห์ มีประมาณ คน 7 คน ช่วยงานของพระ โดยผ่านทางงานเมตตาจิต ช่วยคนเจ็บไข้ได้ป่วย
– กลุ่มเยาวชน มีประมาณ 50 คน ซึ่งถือว่าเป็นกำลังสำคัญของวัดในการภาวนาและพิธีกรรม มีการประชุมและกิจกรรมทุกอาทิตย์ โดย คุณพ่อและซิสเตอร์จะสลับกัน เดือนละครั้งให้การอบรมกลุ่มเยาวชน ส่วน 3 อาทิตย์ที่เหลือ ก็จะมีกิจกรรมทำร่วมกัน เช่นเยี่ยมเยียนผู้ป่วย ซ่อมแซมหลังคา ปลูกผักและดอกไม้ หัดระบำและขับร้อง รวมทั้งการสรุปประเมินผล

     มีอุปสรรคบ้างคือ เนื่องจากครอบครัวยากจน เยาวชนจะเรียนต่อในระดับสูงๆ มีน้อยมาก และจะต้องทำงานหาเงิน เพื่อจุนเจือครอบครัว บางครั้งก็ไปถึงพนมเปญ ทำงานตามโรงงาน
– กลุ่มเด็กเล็ก โดยมีชื่อว่า “ปนโลกทไม” (ต้นกล้าใหม่) โดยมีเยาวชนเป็นพี่เลี้ยง และมีการประชุมทุกอาทิตย์ โดยมีกิจกรรม

งานด้านการศึกษา

     ในหมู่บ้าน มีโรงเรียนระดับประถมและมัธยมต้น ซึ่งทางมิสซังบัดตำบอง ได้มอบที่ดินและสร้างอาคารเรียนให้ 3หลังมอบให้ทางรัฐบาลปัญหาที่พบคือ ขาดแคลนครู เนื่องจากหมู่บ้านอยู่ไกลจากตัวจังหวัด เทคโนโลยีและไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง และถนนมีสภาพไม่ค่อยดี เด็กๆ มาเรียนไม่ค่อยสม่ำเสมอ บ้างครั้งหยุดเรียนกลางคัน ทำให้เด็กจำนวนหนึ่งอ่านหนังสือไม่ออกทางวัดได้เปิดโรงเรียนอนุบาล เมื่อชั้นประถม

ลักษณะความเชื่อของชาวบ้าน

–   ผู้สูงอายุประมาณ 50 ปีขึ้นไป มีความเชื่อค่อนข้างดี
– วัยกลางคน มีปัญหาละทิ้งความเชื่อ และไปปฏิบัติแบบชาวบ้าน เรื่องผีเจ้า เข้าทรง โดยเฉพาะเมื่อสมาชิกในครอบครัวเจ็บป่วย ก็จะมีการเซ่นไหว้ขอขมาผี หรือไปวัดพุทธเพื่อรดน้ำมนต์ หรือมีการไหว้เจ้า เพื่อความอยู่ดีกินดีทำมาหากินประสบความสำเร็จ เป็นต้น

การแพร่ธรรม และความคาดหวัง

   ซิสเตอร์อาศัยการฝังตัวอยู่กับชาวบ้าน ใช้การติดต่อสัมพันธ์ และการเยี่ยมเยียน รวมทั้งให้ความช่วยเหลือ ด้านสุขภาพด้วยความรัก โดยอาศัยพระหรรษทานของพระ โดยมีความคาดหวังว่า พวกเขาเหล่านั้นจะเปิดใจรับพระองค์ เป็นต้นเยาวชน


 

admin@admin.com

About Author