บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 9

พระศาสนจักรของคนจน

          หลังจากพระศาสนจักรคาทอลิก ได้พระสันตะปาปาองค์ใหม่ นามว่า “ฟรังซิส” นับเป็นเวลาอีก ช่วงหนึ่งที่ประวัติศาสตร์ จะต้องจารึก ถึงการเปลี่ยนแปลง แน่นอนว่า เราไม่ทราบว่าจะเกิดการ เปลี่ยนแปลงอะไรขึ้นอีกในอนาคต แต่มีเครื่องหมายบางอย่าง อย่างเป็นนัยสำคัญ ที่กระตุ้นเตือน จิตสำนึกของคริสตชนทุกคนว่า เราในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของพระศาสนจักรคาทอลิกสากล ย่อมนิ่งดูดายเฉยๆ ไม่ได้แน่ หากเห็นหัวหน้า หรือผู้นำของเรา ได้เรียกร้องให้ลูกๆ ของพระศาสนจักร ได้ทำบางสิ่งบางอย่าง และสิ่งหนึ่งที่พระองค์

          เน้นก็คือ “ทำให้พระศาสนจักรเป็นของคนยากจน” ซึ่งพระสันตะปาปา ไม่เพียงแต่เรียกร้องด้วยคำพูด แต่พระองค์ได้ทำอะไรหลายๆ อย่าง เพื่อปฏิเสธ สิ่งที่ออกจะเป็นสิ่งที่หรูหราเกินไป ซึ่งถ้าเราอยู่ในฐานะแบบพระสันตะปาปา จะเห็นว่า ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ และคงยากมากๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรสักอย่าง เพราะตำแหน่ง ที่เป็นผู้นำสูงสุดทั้งทางโลกและ ทางธรรม บวกกับประวัติศาสตร์อันยาวนานของสถาบัน หรือการฝืนประเพณีที่ดูเหมือนดี แต่มันหรูหรา เกินไปนั้น มันเรียกร้อง ความเข้มแข็งอดทนอย่างมากต่อแรงกดดัน โดยเฉพาะจากบุคคลบางกลุ่ม

 

          เรื่องส่วนพระองค์ของพระสันตะปาปา เราจะเก็บไว้ติดตามกันต่อไป แต่อยากให้เรามองดูสาร ของพระองค์ที่พระองค์สื่อถึงเราว่า พระศาสนจักรเป็นประชากรที่มาจากบุคคลที่หลากหลายมากๆๆ แต่ในความเหมือนในความแตกต่างนั้นก็คือ พระศาสนจักรเป็นของทุกคน และเลือกที่จะอยู่ข้าง คนยากจน คนต่ำต้อย หรือคนที่อยู่นอกสายตาของสังคมเสมอ

 

          เราแต่ละคนมีกระแสเรียกแตกต่างกัน แต่เราสามารถทำสิ่งต่างๆ เพื่อคนยากจนเหล่านั้น ด้วยวิธีการที่หลากหลาย โดยมีเป้าหมายร่วมกัน เพราะนั่นไม่ใช่แค่เป้าหมายทางสังคม แต่เป็นเป้าหมาย ทางชีวิตฝ่ายจิต ที่แฝงอยู่ในคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิกด้วย…

 

          วันหนึ่งบนสะพานลอยแห่งหนึ่งในมหานครใหญ่ของกรุงเทพมหานคร ผมไม่รู้ว่าในเวลานั้น จะอยู่ในฐานะใด แต่ลึกๆ ของความเป็นคาทอลิก ทำให้ผมยิงคำถามหนึ่ง เพื่อถามหญิงขอทานคนหนึ่ง ที่นั่งอยู่บนพื้นแฉะๆ ของสะพานลอย “มาจากไหนหรือครับคุณป้า”… สิ่งที่ผมได้รับคำตอบคือ การส่าย หน้า ประมาณว่า ไม่รู้ๆ และด้วยสัญชาตญาณอะไรบางอย่างก็ไม่ทราบ ผมจึงถามต่อว่า “พูดไทยได้หรือ เปล่า?” คุณป้าเงยหน้ามองผม แล้วก็ส่ายหน้าอีก… และด้วยประสบการณ์ที่สั่งสมมา ผมจึงยิงคำถาม อีกว่า “โมกปีณาอม?” (เป็นภาษาเขมรแปลว่า มาจากไหนหรือครับคุณป้า?) คราวนี้คุณป้าเงยหน้า จ้องมองหน้าผมอย่างแปลกใจ อาจจะผสมตื่นเต้น ตามด้วยคำตอบว่า“โมกปีปอยเปต”(มาจากปอยเปต)

 

          ครับ เธอเป็นคุณป้าขอทานชาวกัมพูชาคนหนึ่ง การสนทนาของผมกับคุณป้า เป็นไปอีกสัก พักใหญ่ ผมถามไถ่ถึงสารทุกสุขดิบ การที่ต้องยอม ลำบาก ยอมเสี่ยง มาขอทานในประเทศไทย แน่นอนว่า ไม่ค่อยดีนักในสายตาของคนไทย แต่ความที่ คนไทยเป็นคนใจบุญและมีเมตตา ย่อมทำให้ คุณป้าคนนี้ มีรายได้พอประทังชีวิตได้ ซึ่งผมก็แปลกใจด้วย ว่า คุณป้าสามารถส่งเงินไปช่วยเลี้ยงดู หลานๆ ที่ปอยเปตอีกด้วย ผมคิดไม่ถึงว่าเงินของพวกเราคนไทย จะมีค่ามากมายขนาดนั้น  โดยส่วนตัวแล้ว ผมก็กังวลเรื่องกลุ่มมิชชาชีพที่คอยใช้ความใจบุญของผู้ให้ เป็นเครื่องมือในการหากิน แต่ในเวลานั้น ไม่ใช่เวลาตัดสินใคร เพราะสิ่งที่ผมทำ คือการได้สัมผัสคนจนบ้างตามที่พระศาสนจักรสอน

มีคนเดินข้ามสะพานลอย หลายคน มองผมด้วยสายตาแปลกๆ แน่นอนว่า มันคงแปลกสักหน่อย ที่จะมีใครลงไปนั่งคุยกับขอทาน และสิ่งที่ผมอยากทำมากกว่านี้อีกคือ ไปถึงที่บ้านของคุณป้า ไปเยี่ยม ไปดู ไปเป็นเพื่อนและคอยดูว่า มีอะไรบ้างที่เราพอจะทำได้บ้าง แต่ความจำกัดในหลายอย่างในเวลานั้น ผมจึงทำได้แค่นี้ สำหรับคุณป้า อาจจะทำให้รู้สึกดีขึ้นหรือไม่ หรือเปล่าไม่รู้ แต่สำหรับผม มันทำให้ผม ฝึกที่จะออกจากกรอบรูปแบบของชีวิต เพื่อสัมผัสและไม่ลืมคนด้อยโอกาสเหล่านั้น

ถ้าเราเปิดหนังสือ พิมพ์ หรือมองออกไปข้างๆ บ้าน เราจะเห็นคนจนอยู่รอบๆ เราเสมอ คาทอลิก เอง ก็มีทั้งคนรวยและคนจน แต่อยากให้เราไม่ตีกรอบ มองแค่คนจนหรือรวยเพียงภายนอก แต่อยากให้ เรามองถึงความต้องการภายในใจของพวกเขาด้วย บางครั้งคนรวยภายนอก อาจจะมีใจที่ยากจนด้วย ก็ได้ ซึ่งอาจตีความได้ว่า ใจยากจน จนยากที่แบ่งปันให้ใคร(ตระหนี่ ไม่รู้จักแบ่งปัน กลุ่มนี้เป็นคนที่มีรวย ทางกาย แต่ขาดความร่ำรวยฝ่ายจิตใจ) หรือ มีใจยากจน ที่รู้ว่าตนเองยังขาดความสงบสุขฝ่ายจิตใจ ใจที่ยังมีอิ่มบุญ จึงแสวงสิ่งที่ตนเองขาด ซึ่งเป็นสิ่งที่พระคัมภีร์เรียกร้อง คือ “ผู้มีใจยากจน ย่อมเป็นสุข” (มธ.5:3; ลก.6:20) เพราะคนที่มีใจแบบนี้จะแสวงความจริง ซึ่งไม่จำกัดว่าจะเป็นคนรวยหรือจนฝ่ายกาย เหมือนนักบุญออกัสติน ที่ท่านแสวงหา จนกระทั่งพบว่า พระเป็นเจ้าคือความอิ่มเอิบใจของท่าน

 

 

พระศาสนจักรคาทอลิก ไม่ได้มีจุดหมายในตัวเองว่าจะต้องทำตนเองให้เป็นคนยากจนแบบ มองเห็นได้ภายนอก แต่ไม่ว่าอะไรก็ตามที่แสดงออกภายนอก ต้องสื่อถึงท่าที่ฝ่ายจิตใจ ที่พร้อมจะถือ ความยากจนตามคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้า เราเห็นพระสันตะปาปา ปฏิเสธจะนอนในวัง เสิร์ฟอาหารเอง ใส่รองเท้าหนังธรรมดา ใส่กางเขนโลหะธรรมดา นั่งรถให้ธรรมดาที่สุด ฯลฯ นั่นเพราะแรงผลักดัน ภายในของท่าน ที่ต้องการจะบอกว่า พระองค์อยากจะอยู่ใกล้คนจนให้มากที่สุด และใช้ทุกวิธีทางผลักดัน ผู้นำทั่วโลก และผู้นำพระศาสนจักร ให้คิดถึงคนยากจนมากกว่านี้ อย่างล่าสุด คือการไม่ให้เกิดสงคราม ในซีเรีย ด้วยการรณรงค์ ทุกคนในโลก ด้วยการภาวนาและอดอาหาร นั่นก็เพราะพระองค์ตระหนักดีว่า เมื่อใดเกิดสงคราม คนกลุ่มแรกที่จะต้องลำบาก คือคนยากจน คนธรรมดาทั่วไปนั่นเอง

สำหรับเราในฐานะ สมาชิกของพระศาสนจักร เรามีสถานะต่างกัน ตามฐานันดร ตามตำแหน่ง ตามสิทธิและหน้าที่ของแต่ละคน เราไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพื่อคนยากจน ในแบบที่เหมือนกันทุกอย่าง แต่เราทำได้ตามฐานะและสิ่งที่เรากำลังเป็นอยู่ เป็นฆราวาส เป็นสงฆ์ เป็นนักบวช รอบๆ ตัวเรา มองข้ามรั้วหลังบ้านเรา หรือนอกรั้วหมู่บ้านของเรา เราจะทำอะไรได้บ้างเพื่อช่วยเหลือพวกเขา บางที การช่วยรณรงค์ การร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม หรืออะไรบ้างอย่างก็เป็นการช่วยเหลือพวกเขาได้ ให้เราทำเถอะ ! เพราะบางครั้งกิจกรรมบางอย่างง่ายๆ กลับกลายเป็นการช่วยเหลือที่ยิ่งใหญ่ สำหรับคนจน อย่างเช่นว่า การแยกขยะในบ้าน เอาขยะที่ขายได้ ให้คนเก็บขยะจนๆเอาไปขายได้, การดำเนินชีวิตสวนทางบริโภค นิยม เช่น แค่การประหยัดไฟฟ้า เราก็ไม่ต้องสร้างเขื่อนที่ต้องไล่หลาย หมู่บ้านออกจากพื้นที่น้ำท่วม เพื่อผลิตไฟฟ้า, หรือการกินพอดี อยู่พอดี ใช้พอดี ย่อมเบียดเบียน ธรรมชาติน้อยกว่า เพราะเราสามารถ ลดการทำลายสิ่งแวดล้อม ดินน้ำอากาศ ซึ่งสำหรับคน ที่ไม่มีทางเลือกยังต้องพึ่งพาและใช้สิ่งเหล่านี้อยู่ ฯลฯ

ถ้าพระเยซูเจ้าลดตัว มาเป็นมนุษย์ มาอยู่กับมนุษย์ เพื่อช่วยมนุษย์ให้พ้นจากความบาป ความเห็นแก่ตัว แต่ให้มีใจเผื่อแผ่กัน จนถึงกับตายบนไม้กางเขนขนาดนี้แล้ว เหล่าคนที่ติดตามพระองค์ ที่เรียกว่า คริสตชน จะยังนิ่งเฉยโดยไม่ทำอะไรสักอย่างเพื่อคนยากจน แบบนี้พระองค์ทำเชียวหรือ…

admin@admin.com

About Author

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 16

การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน           งานธรรมทูต คืองานประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระอาณาจักรของ พระเจ้า เราเห็นไม่ได้ แต่ถ้าที่ใดมีกลุ่มคริสตชน นั่นก็เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เรามีความหวังที่จะได้เห็น พระอาณาจักรของพระเจ้าตรงนั้น   พระศาสนจักรคือ เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ของพระอาณาจักรพระเจ้า           ในเขตวัดที่ผมดูแลอยู่นั้น กำลังมีกลุ่มคริสตชนใหม่เกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มที่จะแบ่งปันให้ผู้อ่านฉบับนี้ คือ กลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน
บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 1

ความเชื่อ ที่เป็นชีวิต ของ น.เลโอปอลโด (แห่งปาดัว)        สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เร่ิมต้นปี ก็เป็นเวลาที่ดี ที่เราจะเร่ิมต้นรื้อฟ้ืนถึงความเชื่อ เของเรากันอีกครั้งนะครับ ซึ่งทุกๆกิจกรรมของเรา สามารถโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้ทั้งส้ิน ผ่านทางการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกเราแต่ละคน