บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 4

ธรรมล้ำลึกปัสกา กับชีวิตธรรมทูต

          หลังจากปัสกาผ่านไป บรรดาคาทอลิกได้ผ่านช่วงเหตุการณ์สำคัญอีกช่วงหนึ่ง ในชีวิตฝ่ายจิต ที่มีพิธีกรรมเป็นสื่อเพื่อ ให้เข้าใจสิ่งต่างๆ ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงกระทำกับประวัติศาสตร์มนุษย์ โดย พระองค์มีจุดหมายอย่างเดียว คือเพื่อไถ่มนุษย์ให้พ้นจากบาป ความลุ่มหลง เหมือนที่บางคนเคยบอกว่า “ความผิดพลาดเป็นของมนุษย์ แต่การอภัยเป็นของพระเป็นเจ้า”

อย่าง ไรก็ตาม ศักยภาพของมนุษย์เราแต่ละคนมีไม่เท่ากัน บางคนเข้าใจดีแผนการณ์ของ พระเป็นเจ้าได้ดี รู้จักแก้ไข ปรับปรุงตัว จนกระทั่งมีคุณธรรมที่โดดเด่น จนได้รับการยกย่องให้เป็นนัก บุญ เป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ บางคนก็ยินดีรับฟัง แต่ปฏิบัติอีกอย่าง บางคนก็ต่อต้าน ไม่อยากรับรู้รับฟัง เข้าข่าย เรื่องอุปมา ที่พระเยซูเจ้าเคยสอนเราเรื่อง “ผู้หว่าน” ซึ่งคำสั่งสอนของพระจะเกิดผลหรือไม่ ก็ขึ้นกับดิน นั่นคือ ความเป็นธรรมชาติและเอกลักษณ์ของมนุษย์แต่ละคน

ใน งานประกาศพระวรสาร คนที่ทำงานธรรมทูตเอง ก็เป็นเพียงมนุษย์ธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่มีใจจะอุทิศตนเพื่อทำงานประกาศพระวรสารหรือข่าวดี พร้อมทำงานให้กับพระเยซูเจ้า และ พระศาสนจักร ทั้งนี้ เพื่อให้พระอาณาจักรแห่งความรักและสันติของพระเป็นเจ้า มาสัมผัสมนุษย์ในโลกนี้ บ้าง ดังที่คาทอลิกสวดภาวนาเสมอว่า “ขอให้พระอาณาจักรจงมาถึง”…

บาง คนก็เป็นธรรมทูต จากศีลล้างบาป นั่นหมายถึงคาทอลิกทุกคน ที่รับศีลล้าง หรือศีลจุ่ม อย่างที่บางคนเรียก ก็ได้รับสิทธิและหน้าที่ในการแบ่งปันความเชื่อให้กับทุกคนรอบข้าง และโดย ธรรมชาติของพระศาสนจักร คือ ธรรมทูต ดังนั้น สมาชิกทุกคนก็ได้ชื่อว่าเป็นธรรมทูตในตัวอยู่แล้ว[1] อยู่ที่ว่าจะตระหนัก หรือทำกันมากน้อยแค่ไหน

บาง คนเป็นธรรมทูต เพราะเข้ามาร่วมงานกับคนที่ทำงานแพร่ธรรมอยู่ก่อนแล้ว อาจจะเป็น เพราะมีผู้หลักผู้ใหญ่เลือก เชิญชวนและมอบหมายงานให้ทำ พวกนี้ก็จะเห็นว่า การทำงาน เพื่อพระศาสนาเป็นสิ่งดี แต่แรงจูงใจไม่ถาวร เลือกมาช่วยเป็นครั้งคราว ตามเวลา ตามโอกาส และแรงจูงใจในเวลานั้นๆ การอุทิศตนจึงมีบ้าง เพราะอยากช่วยเหลือพระศาสนจักรหรือกำลังแสวงหา กระแสเรียกจากพระเป็นเจ้า

บาง คนเป็นธรรมทูต ด้วยใจคือการยอมอุทิศตน และการปฏิบัติ คือด้วยการกระทำ ที่ออกมา ในการทำงานในพระศาสนจักร ในชีวิตประจำวัน พวกนี้ก็จะไม่ห่วงกังวลเรื่องการทำมาหากินเพื่อตัวเอง แต่พวกเขาเชื่อแน่ว่า ผ่านงานที่พวกเขาทำ พระเป็นเจ้าจะทรงจัดเตรียมสิ่งที่จำเป็นไว้สำหรับชีวิต พวกเขา คนกลุ่มนี้ เป็นไปได้ทั้งฆราวาส นักบวช พระสงฆ์ ซึ่งมีกรอบระเบียบกฎเกณฑ์แตกต่างกันไป ตามสถานะและสภาพชีวิตของแต่ละคน โดยมีจุดรวมด้วยกันแต่เพียง การทำงานเพื่อประกาศพระวรสาร

ไม่ ง่ายที่จะแสวงหาสิ่งที่เรียกว่า กระแสเรียก เพราะชีวิตของคริสตชนทุกคน อยู่ในพระหัตถ์ของ พระเป็นเจ้า โดยออกแรงร่วมมือกับสิ่งที่พระเป็นเจ้าประทานให้ไว้เป็นเชื้อในจิตใจ และจากจุดนี้เอง ที่ทำให้คนเหล่านั้น ต้องเข้าใจธรรมล้ำลึกแห่งปัสการในกระแสเรียกและชีวิตในการเป็นธรรมทูต

บาง คนบอกว่า การเป็นธรรมทูต หมายถึง การเป็นสมาชิกขององค์กรใด้องค์กรหนึ่ง เพื่อให้ได้ ชื่อว่าเป็นธรรมทูต แต่ก็นั่นก็เป็นเพียงส่วนหนึ่ง เพราะกว่าจะรู้ว่าตนเองชอบและจะเป็นอะไรได้ ก็ต้องผ่านอุปสรรคและการทดลองมากมาย

พระ สงฆ์องค์ล่าสุดของคณะธรรมทูตไทย (คพ.รัชตะ) ได้แบ่งปันถืงชีวิตของตนว่า กว่าจะได้เป็น ธรรมทูตในฐานะสงฆ์ได้ เพื่อนๆ บวชครบสิบปีกันไปแล้ว แต่ในความยากลำบากนั้น เป็นธรรมล้ำลึก ปัสกา ที่ต้องผ่านการทดลอง และได้กลับมีชีวิตใหม่ เพื่อพบกับสิ่งที่เคยใฝ่ฝันไว้ แต่ครั้งหนึ่งไปไม่ถึง เพราะความอ่อนแอของตนเอง

ฆราวาส บางคน มาช่วยงานธรรมทูต เป็นผู้สนับสนุน เป็นครูคำสอน เขาเหล่านี้ กว่าจะตัดสินใจเข้ามาในเนื้องานนี้ มันไม่ใช่ง่ายเลย เพราะไหนจะภาระ ความห่วงที่ยังมีค้าง อยู่ในใจ ไหนจะความกังวลในความมั่นคงในชีวิต ไหนจะครอบครัว เป็นความทุกข์ที่พวกเขา ร่วมกับ พระเยซูเจ้าบนไม้กางเขน จนเมื่อเขาได้ตัดสินใจมา ความชื่นชมแห่งปัสกาก็เกิดขึ้น แม้จะไม่ร้อยทั้งร้อย แต่ก็เป็นความยินดี ที่อยู่ในส่วนลึก ท่ามกลางความลำบากฝ่ายกายและความกังวลฝ่ายจิต ตามประสา โลก ซึ่งธรรมล้ำลึกแห่งปัสกาของพระเยซูนั่นแหละ ที่ช่วยหล่อหลอมชีวิตพวกเขา ให้คล้ายกับพระองค์

ใน กลุ่มของคนที่เป็นธรรมทูตเต็มตัว ซึ่งหมายถึง คนที่อยู่ในสถาบันงานแพร่ธรรมต่างๆ ที่ พระศาสนจักรยอมรับ ก็ใช่ว่าจะพ้นจากธรรมล้ำลึกแห่งปัสกา แต่พวกเขากลับเข้าไปสู่ท่ามกลาง มหาทรมานของพระเยซูเจ้าเต็มๆ ไม่ว่าจะเป็น ความยากลำบากฝ่ายกาย ซึ่งต้องเผชิญอยู่ทุกวัน ในพื้นที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นตามป่าเขาดงดอยหรือในเมืองใหญ่ที่มีผู้คนมากมาย หรือจะเป็น ความทุกข์ยากฝ่ายใจ ที่มาจากความอ่อนแอตามประสามนุษย์ การประจญล่อลวงในรูปแบบต่างๆ ความอ่อนล้า หมดกำลังใจ ที่แต่ละวันต้องเจอปัญหาเดิมๆๆ หรือการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทำงาน ปัญหาสุขภาพ อายุ ผู้คนในท้องถิ่น การปรับตัว แต่กระนั้น ชีวิตแห่งปัสกาที่พอจะหล่อเลี้ยง จิตใจพวกเขากลุ่มนี้ได้ คือ การได้เห็นความก้าวหน้าของพระศาสนจักร เห็นประชาชนได้รับความเชื่อ ซึ่งหมายถึง พวกเขาได้ทำให้วิญญาณผู้คนเหล่านั้น ได้รับความรอดพ้นจากพระหรรษทานยิ่งใหญ่ แห่งศีลล้างบาป แม้จะยังเจอความท้าทายสิ่งอื่นที่จะตามมาอีกก็ตาม  

ดังนั้น ในชีวิตของธรรมทูตหรือผู้ประกาศข่าวดี นั้นช่างงดงามยิ่งนั้ก ตามที่ประกาศกอิสยาห์ (อสย.52:7) ได้เขียนไว้ และนักบุญเปาโลได้มาย้ำอีกครั้งหนึ่ง เท้าของคนเหล่านั้นที่นำข่าวดี มาช่างงามจริงหนอ(รม 10:15) ทั้ง นี้ ไม่ใช่เพราะว่าความสำเร็จที่เขาได้รับ แต่มาจากความทุกข์ยาก ลำบากต่างๆ ที่พวกเขาได้เผชิญก่อนหน้านี้ด้วย เพราะเมื่อคิดจะย่างก้าวออกไปทำงานเพื่อพระคริสต์ ก็ต้องยอมรับรู้ในใจว่า พวกเขาไม่อาจพ้นจากทางแห่งความอุปสรรคความยากลำบากเหล่านั้นได้แต่ เป็น ความทุกข์ยาก ที่ต่างจากความทุกข์ทางโลกอย่างสิ้นเชิง เพราะมันไม่ได้เกิดจากทำผิดศีลธรรม หรือทำบาป แต่เป็นความทุกข์ที่สอดคล้องกับพันธกิจของพระเยซู ที่พระองค์ได้เคยทำและผ่านมาแล้วบนทางแห่งกัลวาลีโอ ในพระคูหา(ความตาย) และการกลับคืนพระชนมชีพ

ผู้ อ่านที่รักครับ ผมอยากให้เราได้นำธรรมล้ำลึกแห่งปัสกา คือการลำบาก จนถึงกับมอบชีวิต และ การกลับคืนพระชนมชีพของพระเยซูเจ้า ได้ยังคงมีต่อเนื่องไปในชีวิตของเราคาทอลิกเสมอ ให้เรา ได้คิดถึงบ่อยๆในปีแห่งความเชื่อ และโดยเฉพาะ ผู้ที่ได้เข้ามาเป็นผู้นำข่าวดี  เพราะ มันเป็นหลักฝ่ายจิต ที่ทำให้เราเข้มแข็งต่อไปในงานของธรรมทูตได้ ซึ่งไม่ได้จบไปพร้อมกับเทศกาลปัสกา หรือปีพิธีกรรม แต่เป็นปัสกาที่มีชีวิตจริงๆ



[1] อ้าง กฎหมายพระศาสนจักร 781 เนื่อง จากพระศาสนจักรทั้งครบโดยธรรมชาติของตนเป็นธรรมทูต และงานประกาศ พระวรสาร ต้องถือเป็นหน้าที่พื้นฐานของประชากรของพระเจ้า คริสตชนทุกคนที่ตระหนักในความรับผิดชอบของตนนี้ ต้องมีส่วนร่วมในงานแพร่ธรรม

admin@admin.com

About Author

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 16

การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน           งานธรรมทูต คืองานประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระอาณาจักรของ พระเจ้า เราเห็นไม่ได้ แต่ถ้าที่ใดมีกลุ่มคริสตชน นั่นก็เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เรามีความหวังที่จะได้เห็น พระอาณาจักรของพระเจ้าตรงนั้น   พระศาสนจักรคือ เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ของพระอาณาจักรพระเจ้า           ในเขตวัดที่ผมดูแลอยู่นั้น กำลังมีกลุ่มคริสตชนใหม่เกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มที่จะแบ่งปันให้ผู้อ่านฉบับนี้ คือ กลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน
บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 1

ความเชื่อ ที่เป็นชีวิต ของ น.เลโอปอลโด (แห่งปาดัว)        สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เร่ิมต้นปี ก็เป็นเวลาที่ดี ที่เราจะเร่ิมต้นรื้อฟ้ืนถึงความเชื่อ เของเรากันอีกครั้งนะครับ ซึ่งทุกๆกิจกรรมของเรา สามารถโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้ทั้งส้ิน ผ่านทางการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกเราแต่ละคน