บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 27

พระคริสต์ทรงกลับคืนพระชนมชีพแล้ว อัลเลลูยา

          เทศกาลปัสกาที่ประเทศกัมพูชา เป็นการเตรียมตัวแบบผสมผสาน และมีลักษณะเฉพาะตัว พวกเราธรรมทูตที่ทำงานในประเทศมิสซังส่วนใหญ่ ก็ต้องศึกษาสภาพความเป็นอยู่ และความรู้สึกนึกคิด ของประชาชนที่เราไปอยู่ด้วย เช่นบางกลุ่มเป็นคริสตชนใหม่ บางกลุ่มเป็นชาวเวียดนาม บางกลุ่มเป็น เขมร บางกลุ่มในเมือง บางกลุ่มในชนบท{besps}documents/frdenarticle/acticle27{/besps}

 

          เนื่องจากประเทศกัมพูชา มีคาทอลิกที่เป็นกัมพูชาไม่มาก แต่เป็นเชื้อสายเวียดนามเสียส่วนใหญ่ การปรับประยุกต์ใช้พิธีกรรมบางเรื่องก็ต้องดูตามสภาพ แต่หลักๆ เราจะใช้ภาษากัมพูชา ส่วนการเตรียม ปัสกาเรามีสัปดาห์ศักดิ์สิทธิ์ โดยเริ่มวันพฤหัสบดีศักดิ์สิทธิ์ ในกลุ่มคริสตชนในหลายแห่ง  มีพิธีล้างเท้า ซึ่งไม่ใช่แค่ล้างตัวแทนอัครสาวก แต่มีการล้างเท้าให้แก่กันและกัน โดยสลับกันล้างซึ่งหลายวัด เตรียมได้ ดี โดยอธิบายความหมายเพิ่มเติม

          ทุกวันศุกร์ในเทศกาลมหาพรต เราธรรมเนียมการเดินรูป ซึ่งรูปภาพเดินรูปของบางวัดจะเป็น ภาพวาดแบบกัมพูชาส่วนพิธีกรรมศุกร์ศักดิ์สิทธิ์ เราได้จัดเตรียมตามแบบที่ช่วยให้สัตบุรุษสามารถ เข้าใจได้ เช่น มีการแสดงภาคมหาทรมาน หรือมีการซีดีให้ชม แม้มีความยากลำบากคือ ไม่ค่อยมี อุปกรณ์สื่อฯ ช่วยมากนัก และเรื่องภาษา โดยเฉพาะ กลุ่มคริสตขนที่เป็นชาวเวียดนาม

          ส่วนวันเสาร์ เป็นค่ำคืนแห่งการตื่นเฝ้า หลายวัดมีการล้างบาปคริสตชนใหม่ ในปี 2015นี้ เฉพาะมิสซังพนมเปญ มีคริสตังใหม่ผู้ใหญ่จำนวน165 คน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ตามต่างจังหวัด การเตรียมปัสกาในค่ำคืนนี้ มีหลายอย่างที่ต้องทำ สิ่งที่มีอิทธิพลมากคือ กำลังของพระสงฆ์นักบวช ที่ต้องจัดการแบ่งงานหน้าที่ต่างๆ โดยมีเยาวชนเป็นกำลัง บางวัดที่ไม่มีพระสงฆ์ประจำ ก็มีซิสเตอร์ หรือคณะกรรม การวัด ช่วยกันเตรียมตามมีตามเกิด

          วันอาทิตย์ปัสกา เป็นวันที่มีความหมายสำหรับคริสตชน และเราเอาใจใส่เรื่องการต่อเนื่องสำหรับ คริสตชนใหม่ด้วย เราเรียากลุ่มนี้ “กลุ่มต้นกล้า” คือ ยังไม่เป็นคริสตชนที่มีความเชื่ออ่อนอยู่ ตอนนี้พวก เขา ยังต้องพยายามรวมกลุ่มกันต่อเนื่องอีกหนึ่งปี ซึ่งเป็นเรื่องท้าทายมาก ที่จะให้พวกเขารักษาความชื่น ชมยินดีในชีวิตใหม่นี้ต่อไป ดังนั้น หลายวัดตัดสินใจให้แค่ศีลล้างบาป หรือให้รับศีลมหาสนิทได้ แต่ให้เรียนคำสอนต่อไปอีก จนถึงวันพระจิตเจ้า เพื่อให้พวกเชารับศีลกำลัง ดังนั้น งานอภิบาลก็ถูกปรับไป ตามสภาพของพื้นที่ เพื่อช่วยพวกคริสตังใหม่เหล่านี้

          ตามธรรมดา เรามีการโยกย้ายพระสงฆ์ตามความจำเป็นในแต่ละมิสซัง อาจมีการปรับเปลี่ยน บ้างมากน้อยตามสภาพ แต่สำหรับพนมเปญในปีนี้ มีการปรับเปลี่ยนประมาณ 40 เปอร์เซนต์มีพระสงฆ์ จากพม่า 2 องค์ จากคณะธรรมทูตหนทางสายน้อย ของ น.เทเรซา ย้ายไปเป็นรองเจ้าอาวาสที่เขตวัด จังหวัดกำโปทและกรุงพระสีหนุ(กำปงโซม) พระสงฆ์จากเยโรมาล(ธรรมทูตโคลัมเบีย)ไปเป็นเจ้าอาวาส ที่จังหวัดตาแก้ว โดยมี คพ.หัตถชัย วงษ์มาแสน เป็นรองเจ้าอาวาสที่นั่น มีพระสงฆ์ธรรมทูตปารีสสอง ท่าน คือพ่อบรูโนและพ่อดาเมียงเปลี่ยนกระแสเรียกไปเป็นพระสงฆ์นักบวชเบเนดิกติน เตรียมเปิด อารามในอนาคตในประเทศกัมพูชานี้ คุณพ่อเรือง ฉัตรสิริ (ชัชชัย รวมอร่าม) ถูกย้ายขึ้นมาเป็น พระสงฆ์เจ้าอาวาสสำหรับเขตพนมเปญทางเหนือทั้งหมด โดยมีพระสงฆ์ปีเมชาวอินเดียเป็นผู้ช่วย และพระสงฆ์ธรรมทูตกรุงปารีส องค์หนึ่งชาวอินเดีย เข้าโครงการปีฟื้นฟูหนึ่งปี

          สำหรับซิสเตอร์ไทย(คณะพระหฤทัย คลองเตย) ที่ทำงานในกรุงพนมเปญ ก็มีการปรับเปลี่ยน นิดหน่อยคือ ซิสเตอร์สุพัตรา โสภณ สมาชิกร่วมงานธรรมทูตไทยออกไปศึกษาเพิ่มเติมที่ประเทศ ฟิลิปปินส์ โดยมี ซ.จันทนา สิริจันทนากุล กลับมาจากปีฟื้นฟูเป็นอธิการบ้าน มีซิสเตอร์ ลาวัลย์ แสนยากุล และซิสเตอร์นุจรา เที่ยงงามดี เป็นสมาชิกบ้าน

          ความยินดีในการกลับคืนพระชนชีพของพระองค์อีกข่าวหนึ่งก็คือ ในวันที่ 27 มิถุนายน2015 คือ ในอีกสองสามเดือนข้างหน้านี้ มิสซังพนมเปญ จะได้พระสงฆ์บวชใหม่องค์หนึ่ง คือ บร.สุข ณา และอีก องค์หนึ่ง ก็จะกลับมาจากการศึกษาที่ฝรั่งเศสคือ คพ.ซวน ฮองลี จะกลับมาเริ่มงานอีกครั้งหนึ่ง

          เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2015 ที่ผ่านมา ผมได้รับโอกาสต้อนรับกลุ่มครูคาทอลิกในโรงเรียนรัฐบาล พร้อมกับพระคุณเจ้าสิริพงษ์ จรัสศรี ได้มาแสวงบุญในพนมเปญ โดยมีคพ.พงษ์ศักดิ์ แซ่เตียว และคพ.เสกสม กิจมงคล       หลังจากเดินทางแวะมิสซังพระตะบอง ก็มาถึงพนมเปญในตอนค่ำ กิจกรรม ที่สำคัญคือ การเยี่ยมชมและมิสซา ที่วัดน.มารีย์ มักดาเลนา สวายปะ ซึ่งเป็นกลุ่มคริสตชนเกิดใหม่ กลุ่มคริสตชนนี้ ยังมีรูปพระหฤทัยเก่าแก่ ก่อนสมัยสงคราม ที่ถูกนำมาจากอารามคาร์แมล เป็นรูปหล่อ ด้วยเหล็กจากฝรั่งเศส แต่แขนขาด พระหฤทัยฯได้ปกป้องดูแลคุ้มครองกลุ่มคริสตชนนี้มาตลอด จนสภาพชุมชนดีขึ้นตามลำดับ

          คณะแสวงบุญได้แวะที่วัดนักบุญยอแซฟ พนมเปญ ซึ่งเป็นอดีตบ้านเณรเล็ก และหลังสงคราม ก็เป็นเขตวัดหลักของกรุงพนมเปญ ที่รับรองธรรมทูตจากชาติต่างๆ มาเรียนภาษาเขมรที่นี่ และเป็นวัด หลักในเมืองหลวง ด้วยปัจจุบัน เรามีจำนวนมิสซา  5  รอบ คือเขมรสองรอบ ฝรั่งเศส อังกฤษ และเกาหลี มีกิจกรรมคำสอน และงานเมตตาจิตควบคู่ไปด้วย

          จากนั้น จุดที่พลาดไม่ได้คือ ข้ามแม่น้ำจตุมุข(จุดที่แม่น้ำสี่สายมารวมกัน)ที่พนมเปญ เพื่อไป ภาวนาพร้อมกับแม่พระแห่งแม่น้ำโขง ที่วัดแม่พระแห่งสันติภาพ และเสริมด้วยกิจกรรมต่างๆ เช่น การชมคุกสมัยเขมรแดง และการซื้อของที่ระลึกที่ตลาดใหม่ ขอบคุณพี่น้องคณะครู พระคุณเจ้าและ พี่น้องสงฆ์ ที่มาแบ่งปันความเชื่อ และกำลังใจให้กับพวกเรา ขอพระเป็นเจ้าอวยพร

          และหากจะดูกิจกรรมธรรมทูตอื่นๆ ที่เรากำลังทำอยู่ ต้องนับว่ามีงานมากมายที่ต้องทำ คือ งาน รักษาความเชื่อโดยเน้นงานอภิบาลสำหรับคริสตชนเก่า และการประกาศพระวรสารเพื่อเตรียมตัวพวก เขา ให้เป็นคริสตชนใหม่ แม้หนทางการเติบโตจนสามารถเพิ่งตนเองได้จะอีกไกล แต่เรายังหวังและ เชื่อมั่น ในพระเยซูเจ้าที่ทรงกลับคืนพระชนมชีพ ความหวังสำหรับพระศาสนจักรเล็กๆ แห่งนี้

          

admin@admin.com

About Author

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 16

การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน           งานธรรมทูต คืองานประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระอาณาจักรของ พระเจ้า เราเห็นไม่ได้ แต่ถ้าที่ใดมีกลุ่มคริสตชน นั่นก็เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เรามีความหวังที่จะได้เห็น พระอาณาจักรของพระเจ้าตรงนั้น   พระศาสนจักรคือ เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ของพระอาณาจักรพระเจ้า           ในเขตวัดที่ผมดูแลอยู่นั้น กำลังมีกลุ่มคริสตชนใหม่เกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มที่จะแบ่งปันให้ผู้อ่านฉบับนี้ คือ กลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน
บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 1

ความเชื่อ ที่เป็นชีวิต ของ น.เลโอปอลโด (แห่งปาดัว)        สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เร่ิมต้นปี ก็เป็นเวลาที่ดี ที่เราจะเร่ิมต้นรื้อฟ้ืนถึงความเชื่อ เของเรากันอีกครั้งนะครับ ซึ่งทุกๆกิจกรรมของเรา สามารถโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้ทั้งส้ิน ผ่านทางการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกเราแต่ละคน