บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 1

ความเชื่อ ที่เป็นชีวิต ของ น.เลโอปอลโด (แห่งปาดัว)
        สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เร่ิมต้นปี ก็เป็นเวลาที่ดี ที่เราจะเร่ิมต้นรื้อฟ้ืนถึงความเชื่อ เของเรากันอีกครั้งนะครับ ซึ่งทุกๆกิจกรรมของเรา สามารถโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้ทั้งส้ิน ผ่านทางการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกเราแต่ละคน


        กิจกรรมคริสต์มาสที่ผ่านมา ตามด้วยปีใหม่ หลายๆ คน คงเร่ิมตั้งใจกับสิ่งใหม่ๆดีๆ แม้จะอยู่บนความอ่อนแอแบบเดิมๆ แต่อาศัยความเชื่อ ทำให้เราหลายคนมีมุมมองใหม่กับ สิ่งเดิมๆ ที่ทำ ด้วยความไว้ในในพระเมตตาของพระเป็นเจ้าเสมอ
        ผมเองก็รู้สึกอย่างนั้น เมื่อช่วงคริสต์มาสที่ผ่านมา คริสต์มาสที่เมืองไทยหรือที่กัมพูชา เป็นช่วงที่ผู้อภิบาลทั้งหลาย หาเวลาสงบจิตใจยากเต็มที่ เพราะมีกิจกรรมต่างๆ มากมาย ทั้งนอก ทั้งในวัด โดยเฉพาะคนที่เตรียมกิจกรรม ทั้งพิธีกรรมและกิจกรรมภายนอก แต่ประสบการณ์คริสต์มาสที่นี่ ที่วัดแห่งหนึ่งทางเหนือของเมืองปาดัว อิตาลี ซึ่งก็อาจจะ เป็นเหมือนกันเกือบทั่วไป คือ ไม่มีกิจกรรมรื่นเริงภายนอก เพราะสำหรับคนที่นี่ ช่วงคริสต์มาส เป็นวันครอบครัว สัตบุรุษส่วนใหญ่จะใช้เวลาทำกิจกรรมหรือสังสรรค์ในบ้านกับเพื่อนบ้าน หรือครอบครัวมากกว่าที่วัด ส่วนที่วัดทั้งวันในวันที่ 24 ธันวาคม พระสงฆ์จะต้องช่วย กันฟังแก้บาป มีกิจกรรมเตรียมจิตใจในคืนต่ืนเฝ้า โดยการแสดงของบรรดาเด็กเรียนคำสอน ตามด้วยมิสซาเที่ยงคืน และมิสซาเช้า มิสซากลางวัน ซึ่งถือว่าเป็นพิธีกรรมต่อเนื่อง เป็นการเฉลิมฉลองคริสต์มาส ที่มีพระเยซูเจ้าในศีลมหาสนิท เป็นศูนย์กลางของจิตใจ
       อย่างที่เราทราบแล้วว่า อายุขัยของมนุษย์เราเร่ิมยาวขึ้น ประเทศไทยเรา ก็เร่ิมมี อายุขัยเฉลี่ยสูงขึ้นกว่าแต่ก่อน เมื่อตอนหลังคริสต์มาส ผมได้มีโอกาสไปร่วมถวายมิสซาที่บ้าน แห่งหนึ่งใน ซึ่งเรียกว่า “บ้านแห่งการพักผ่อน” แต่ที่จริงดูสภาพภายนอกแล้ว เป็น โรงพยาบาลดีๆนี่เอง บ้านแห่งนี้ อาจเรียกง่ายๆว่า “บ้านพักผู้สูงอายุ” เหมือนกับที่ คณะคามิลเลียน เปิดบ้านพักคนชรา ที่จันทบุรี แต่สำหรับที่อิตาลี มีบ้านพักแบบนี้ หลายแห่งซึ่งเป็นของรัฐ แต่การอภิบาลจะขึ้นอยู่ที่ว่า อยู่ในเขตวัดของใคร บ้านพักที่ผมไป แห่งนี้มีอยู่ 600 เตียง ซึ่งนับว่าใหญ่มาก ถ้าพูดถึงแค่บ้านพักผู้สูงอายุ นั่นก็เพราะว่า คนใน ยุโรปคนสูงอายุมีมากขึ้น และความสะดวกที่อยู่ใกล้แพทย์มากกว่า เพราะผู้สูงอายุ ส่วนใหญ่ที่นี่ มักช่วยตัวเองไม่ค่อยได้แล้ว ทางวัดของผมที่ไป มีกลุ่มนักขับร้องของวัดรุ่นใหญ่ ไปร้องเพลงในมิสซาและอวยพรโอกาสคริสต์มาส แต่มิสซาวันนั้นเป็นวันฉลองน.สตีเฟน มรณสักขีคนแรก ซึ่งคุณพ่อลอเรนโซ (เคยเป็นเจ้าอาวาสวัดที่ อ.เชียงดาว) ได้เทศน์ถึง คุณธรรมของการเป็นมรณสักขี ที่ตายเพราะความเชื่อ ซึ่งสำหรับบรรดาผู้สูงอายุ ก็เป็น มรณสักขีเหมือนกัน ถ้าเอาความอ่อนแอฝ่ายกายในปัจจุบัน ร่วมในพระทรมานของพระเยซูเจ้า นั่นก็หมายความว่า แทนที่จะมองว่าเป็นบุคคลไร้ค่า แต่กลับกลายเป็นช่วงชีวิตที่งดงาม และมีคุณค่า ด้วยสายตาแห่งความเชื่อ
และนั่น…ทำให้ผมมองเห็นอัศจรรย์ ของสงฆ์ชราท่านหนึ่ง ซึ่งอยู่ในคณะกาปูชิน ท่านมีชีวิตที่เรียบง่ายและเงียบๆในอารามแห่งหนึ่ง ในเขตเมืองปาดัว ซึ่งปัจจุบันพระสงฆ์ องค์นี้ได้รับการแต่งตั้งเป็นนักบุญแล้ว ชื่อว่า “เลโอปอนโด มันดิก”(Leopoldo Mandic, 1866-1942) สักการะสถานของท่าน ปัจจุบันอยู่ใกล้สถานีรถไฟฟ้าแห่งหนึ่ง ที่เรียกว่า จัตุรัสกางเขนศักดิ์สิทธิ์(Piazza Santa Croce) ในเขตตัวเมืองปาดัว
         ความศักดิ์สิทธิ์ของท่าน มาจากพระธรรมล้ำลึกขอหนึ่งของข้อความเชื่อคาทอลิกเรา คือ “ข้าพเจ้าเชื่อถึงการยกบาป” เพราะด้วยมือที่โปรดศีลอภัยบาปของท่าน พระเป็นเจ้า ทรงทำให้เราเห็นเป็นเครื่องหมาย โดยมือข้างนั้นไม่เน่าเปื่อย เพียงแต่เหี่ยวแห้งไปเท่านั้น นอกจากนั้น ในช่วงปลายชีวิตของท่าน เป็นช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง อารามแห่งนี้โดนทิ้ง ระเบิดจนพังเสียหาย แต่อัศจรรย์ที่พบอย่างหนึ่งก็คือ ห้องโปรดศีลอภัยบาปของท่าน ไม่ได้ รับความเสียหายแต่ประการใด เก้าอี้ ตู้ฟังแก้บาป ยังอยู่ครบสมบูรณ์
           นั่นเพราะตลอด 30 ปีแห่งการเป็นศาสนบริการ ท่านเป็นพยานถึงข้อความเชื่อ นี้ได้เป็นอย่างดี ย้อนกลับไปอดีต ท่านเกิดในครอบครัวขายปลา นั่นเพราะบ้านท่านอยู่ใกล้อ่าว Kotor ในฝั่งทะเลอันเดรียอาติก เป็นลูกคนที่ 12 คนสุดท้อง และชีวิตของท่านในช่วงวัยเด็ก มีแค่สามแห่งที่ท่านคุ้นเคยอย่างดี คือ บ้าน, วัด และโรงเรียน ท่านเข้าบ้านเณรของคณะ กาปูชิน เมื่ออายุ 16 ปี ท่านรับเสื้อกาปูชินในปี 1884 โดยเปลี่ยนชื่อ จาก อาเดโอดาโต เป็น “เลโอปอลโด” แรงบันดาลใจที่พระเจ้าตรัสในจิตใจของท่านตลอดชีวิต คือ การทำให้ พระศาสนจักรออร์โธด๊อก กลับเข้ามาเป็นหนึ่งเดียวกับพระศาสนจักรคาทอลิก ท่านบวชเป็น พระสงฆ์ที่เวนิช ในปี 1890 ท่านแสดงเจตจำนงกับอธิการทันทีว่า อยากไปเป็นธรรมทูตใน ยุโรปตะวันออก แต่ท่านได้รับการปฏิเสธ แม้ต่อมาจะขอต่อมาอีกหลายครั้งก็ตาม
          ที่สุดด้วยความนบนอบ ท่านก็คงใช้ชีวิตอยู่ที่เวนิชถึง 7 ปี ผ่านทางสิ่งที่ยิ่งใหญ่ในชีวิต ประจำวันของท่าน คือ การถวายมิสซา การแนะนำวิญญาณและโปรดศีลอภัยบาป จากนั้นก็ ย้ายไปที่ซารา(Zara) และใกล้ความฝันของท่านหน่อย เมื่อตอนย้ายไปอยู่ โคเปอร์(Koper) ประเทศสโลเวียเนียในปัจจุบัน แต่ก็ถูกย้ายกลับมาที่ปาดัวในปี 1909 เป็นอาจารย์สอนวิชา ปิตาจารย์วิทยา และผ่านทางเนื้อหาที่ท่านสอน ท่านกระตือรือร้น ที่จะนำไปใช้ในการเทศน์ สอนของท่าน และที่ปาดัวที่เอง ที่งานแพร่ธรรมและงานศาสนสัมพันธ์ของท่านเกิดผล ผ่านทาง วีรกรรมในชีวิตแห่งการเป็นผู้รับเคราะห์(Victim) ท่านเขียนงานฝ่ายจิตชิ้นหนึ่งช่ือว่า “การ เข้าถึงพื้นฐานการภาวนาและการเป็นผู้รับเคราะห์ ก่อนที่ปิตาจารย์แห่งปวงชน จะนำผลที่ ยิ่งใหญ่นั้น ไปสู่ผู้คนมากมาย” โดยท่านปฏิบัติก่อน นั่นคือ ท่านได้นบนอบ และปฏิเสธน้ำใจ ของตนเอง
        ท่านออกจากงานสอน ในปี 1914 เพื่ออนาคตแห่งการเป็นมรณสักขี แห่ง ศีลอภัยบาป ระหว่างสงครามโลกคร้ังที่หนึ่ง ท่านเดินทางจากอารามหนึ่งไปอารามหนึ่ง ท่านกลับไปที่ปาดัวอีกครั้ง โดยกระตุ้นภารดาหนุ่มๆ สานต่อสิ่งที่ท่านหวังไว้ ส่วนท่านได้ปิด ตัวท่านเองในห้องเล็กๆ ในที่แก้บาป ที่มีทั้งคนทั้งยากดีมีจน ทั้งนักบวชและฆราวาส ไปหาท่าน ก่อนท่านจะจากโลกนี้ไป ท่านเขียนว่า “วิญญาณที่ต้องการศาสนบริการจากท่าน คือ ทิศตะวันออกสำหรับท่าน(หมายถึงพระศาสนจักรตะวันออก)” ท่านใช้เวลา 12-13 ชั่วโมงใน แต่ละวันในที่แก้บาป ครั้งหนึ่งคนมาแก้บาปเข้าไปนั่งที่เก้าอี้ของท่าน แต่ท่านก็ฟัง การสารบาปของเขา โดยคุกเข่าเหมือนคนที่มาขอแก้บาป ท่านเคยถูกกล่าวหาว่า มีเมตตา ปรานีเกินไป แต่ท่านก็ยืนหยัด เหมือนพระเยซูบนไม้กางเขน ที่ให้แบบอย่างแก่ท่าน ในการแสดงความเมตตาของพระองค์ ท่านเป็นผู้รับใช้ที่พร้อมจะเป็นผู้รับเคราะห์เสมอ สองปีสุดท้ายท่านสุขภาพแย่มาก หลังจากตรวจพบเนื้องอกที่หลอดอาหาร ท่านยังรับฟัง แก้บาปจากบรรดาภารดา และไม่กลัวความตาย ท่านฟังแก้บาปจนเกือบวันสุดท้ายของชีวิต คืนนั้นท่านภาวนา และอีกวันก็ถวายลมหายใจคืนแด่พระเจ้า
           พระสันตะปาปาเปาโลที่ 6 แต่งตั้งท่านเป็นบุญราศี ในปี 1976 และพระสันตะปาปา ยอห์นปอล ที่ 2 แต่งตั้งท่านเป็นนักบุญ 16 ตุลาคม 1983
อารามที่ปาดัวได้เก็บร่างของท่าน ยังมีผู้คนมากมายไปรับศีลอภัยบาปอยู่เสมอ มี เครื่องหมายมากมาย ที่ผู้คนขอแล้วได้รับจากท่าน หลุมศพของท่าน คอยเตือนใจให้บรรดา ผู้แสวงบุญ เข้าใจถึงพระเมตตายิ่งใหญ่ของพระเป็นเจ้า ผ่านทางข้อความเชื่อที่เรายืนยันเสมอ คือ “ศีลอภัยบาป” ซึ่งพระองค์เปิดเผยแก่คนบาป ผ่านทางพระสงฆ์ของพระองค์
         ดังนั้น ขอให้มุมมองสำหรับเราคาทอลิก ในปีแห่งความเชื่อนี้ ถ่ายทอดเข้าไปในชีวิต ประจำวันของเรา ไม่แน่ว่า จากกิจการธรรมดาในชีวิตประจำวัน อาจทำให้เราเป็นผู้ศักดิ์สิทธิ์ ได้โดยไม่รู้ตัว… เพราะความเชื่อ ไม่จำเป็นต้องแสดงออกด้วยกิจการที่ย่ิงใหญ่ แต่กิจการ ที่ย่ิงใหญ่ คือการแสดงออกด้วยความเชื่อนั่นเอง
ข้อมูลอ้างอิง
http://en.wikipedia.org/wiki/Leopold_Mandic
http://www.capuchinfriars.org.au/saints/leopold.shtml

admin@admin.com

About Author

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 16

การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน           งานธรรมทูต คืองานประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระอาณาจักรของ พระเจ้า เราเห็นไม่ได้ แต่ถ้าที่ใดมีกลุ่มคริสตชน นั่นก็เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เรามีความหวังที่จะได้เห็น พระอาณาจักรของพระเจ้าตรงนั้น   พระศาสนจักรคือ เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ของพระอาณาจักรพระเจ้า           ในเขตวัดที่ผมดูแลอยู่นั้น กำลังมีกลุ่มคริสตชนใหม่เกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มที่จะแบ่งปันให้ผู้อ่านฉบับนี้ คือ กลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน
บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 2

การประชุมคณะธรรมทูตไทย ประจำปี 2013         สวัสดีครับ พี่น้องที่รักทุกท่าน ฉบับนี้ขอรายงานเกี่ยวกับ ความก้าวหน้าของ คณะธรรมทูตไทย ซึ่งเป็นของพระศาสนจักรไทยเราทุกคน ก่อนสิ่งอื่นใด ต้องขอขอบ พระคุณบรรดาพระสังฆราช โดยเฉพาะพระคุณเจ้าชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ ซึ่งดูแลกิจการงานธรรมทูต ที่สนับสนุนให้มีการรณรงค์เงินทาน