บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 30

มรณสักขีในประเทศกัมพูชา

          ความเชื่อคาทอลิกได้เข้ามาสู่แผ่นดินประเทศกัมพูชา ในปี 1555 ผ่านทางบรรดาธรรมทูตจาก ต่างชาติคนแรกในอาณาจักร คือ นักบวชดอมินิกัน ชาวโปรตุเกส ชื่อ กัสปาดาครูส(Gaspar da Cruz)ในสมัยพระบาทองค์จันทร์ ซึ่งมีราชธานี อยู่ที่กรุงลงแวก(ทางเหนือของกรุงพนมเปญปัจจุบัน) พระศาสนจักรในประเทศกัมพูชาก็ค่อยๆ ก่อร่างสร้างตัว เริ่มคริสตชนชาวต่างชาติที่มาอาศัยอยู่ในแผ่นดินสุวรรณภูมิแห่งนี้ ร้อยปีต่อมาคือในศตวรรษที่ 17มีชาวต่างชาติสามกลุ่มใหญ่ที่เข้ามาอยู่ใน กัมพูชาด้วยเหตุผลต่างๆกันไป ได้แก่ คริสตชนชาวญี่ปุ่น ชาวอินโดนีเซีย และชาวเวียดนาม{besps}documents/frdenarticle/acticle30{/besps}

 

       แต่พระศาสนจักรก็ไม่ได้เติบโตมากนัก เพราะชาวพื้นเมืองที่รับความเชื่อนั้น มีเพียงน้อยนิด  ปัญหาหลักในสมัยนั้นคือ สงครามที่มาจากการรุกรานของเวียดนามและสยาม รวมทั้งปัญหาภายใน พระศาสนจักรเองที่มาจากสิทธิประกาศศาสนาในประเทศที่เสปนและโปรตุเกสครอบครองอยู่ในดินแดน เปิดใหม่กับบรรดาธรรมทูตที่ขึ้นตรงกับพระสันตะปาปา

สักการะสถานมรณสักขีแห่งกัมพูชา

      สถานการณ์สงครามจากประเทศรอบข้างเริ่มสงบนิ่ง และพระศาสนจักรได้เติบโตขึ้นมากในช่วงเวลาที่ประเทศกัมพูชาและประเทศในอินโดจีนอยู่ภายใต้อาณานิคมฝรั่งเศส นับตั้งแต่ปี 1863 แต่การ เติบโตนี้กลับเป็นกลุ่มคริสตชนชาวเวียดนามเสียส่วนใหญ่ ที่กระจัดกระจายไปทั่วประเทศกัมพูชา ซึ่งภายหลังที่สถานการณ์ทางการเมืองเปลี่ยนแปลง คริสตชนเหล่านี้ก็ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยง ไม่ได้ แต่ที่เหลืออยู่เพียงน้อยนิด ทั้งชาวกัมพูชาและชาวเวียดนาม ก็คงรักษาความเชื่อในแบบวัฒนธรรม ที่แตกต่างต่อมาเรื่อยๆ

      จนกระทั่งในปี 1970สงครามกลางเมืองเกิดขึ้นอีกครั้ง เป็นสงครามที่มาเกิดจากชาวกัมพูชา ด้วยกันเอง เพียงแต่มีอุดมคติทางลัทธิทางการเมืองที่แตกต่างกัน พระศาสนจักรที่มีชาวเวียดนามถูกขับ ไล่กลับประเทศเวียดนาม หรือไม่ก็ถูกทหารสาธารณรัฐ ที่นำโดย ลอน นอล ฆ่าตายเป็นหมู่บ้าน ในช่วงนี้ เองที่ “มรณสักขี” ในประเทศกัมพูชา เริ่มเกิดขึ้น เกิดขึ้นท่ามกลางความสับสนระหว่างลัทธิทางการเมือง ที่จะเอาความแตกต่างทางเชื้อชาติเป็นที่ตั้ง จนกระทั่งต่อมา ได้กลายเป็นความแตกต่างทางอุดมการณ์ ทางการเมืองคอมมิวนิสต์กับโลกเสรี ซึ่งนำโดยเขมรแดง (หรือแขมร์กรอฮอม เริ่มมีอำนาจเต็มที่ในปี 1975) ได้กลายเป็นผู้เบียดเบียนชาวเขมรด้วยกันเองที่มีความคิดต่อต้านหรือไม่ยอมรับอำนาจใหม่ ซึ่งคริสตชนไม่ว่าชนชาติใด หรือสถานภาพใดในพระศาสนจักร ก็ได้รับการเบียดเบียน และถูกฆ่าไปเป็น จำนวนมาก

      พระศาสนจักรไม่เคยลืมเลือดของมรณสักขีเหล่านี้ แม้เวลาช่วงแห่งสันติภาพค่อยๆ เกิดขึ้น อีกครั้ง นับตั้งแต่เขมรฝ่ายต่างๆ ตกลงข้อสัญญาสันติภาพและมีการเลือกตั้งครั้งแรกในปี 1993 และแม้ จะมีการรบกันกลางเมืองหลวงระหว่างพรรคอีกครั้งในปี 1997 แต่พระศาสนจักรก็ไม่ทอดทิ้งฝูงแกะของพระเจ้า

สักการะสถานมรณสักขีแห่งกัมพูชา

ผู้นำพระศาสนจักรท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่มีธรรมทูตจากคณะต่างๆ ทั่วโลกที่เข้ามาในกัมพูชานี้ เข้าใจสถานการณ์ดี และพยายามจะปลูกฝังความเชื่อใหม่ให้ลึกซึ่งยิ่งขึ้น และความเชื่ออย่างหนึ่งก็คือ ในพระศาสนจักรคือ คำสอนเกี่ยวกับ “มรณสักขี”โดยอาศัยคำวิงวอนผ่านทางท่าน และแบบอย่างของผู้มีความเชื่อที่ยอมสละชีวิตในช่วงสงครามที่แผ่ขยายแต่ความเกลียดชังไปทั่ว ซึ่งไม่มีการเคารพ แม้แต่ความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐาน ในทางตรงข้ามกลับฆ่าผู้คนและคริสตชนมากมาย 

เลือดของพวกเขาปะปนกับผู้คนบริสุทธิ์มากมาย ที่เสียชีวิตในช่วงสงครามล้างเผ่าพันธุ์นี้ และ พระศาสนจักรคาทอลิกทั่วโลก รวมทั้ง พระศาสนจักรในกัมพูชาก็ไม่เคยลืมพวกเขา ดังนั้นในปีปิติมหาการุณย์ 2000 นักบุญสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ได้ขอร้องให้พระศาสนจักรทั่วโลก ได้จัดวันหนึ่งเพื่อระลึกถึงบรรดามรณสักขี ในศตวรรษที่ 20 ดังนั้น ที่หมู่บ้านตางโกก ในวันที่ 7 พฤษภาคม 2000 ได้ทำพิธีระลึกถึงบรรดามรณสักขี ในประเทศกัมพูชา ซึ่งในเวลานั้น ได้มีการทำ การเขนเหล็กเป็นอนุสรณ์ถึงความทุกข์ยากลำบาก การเบียดเบียน ความอดยาก การทำทารุณต่างๆ ในสมัยสงครามและสมัยเขมรแดง 

     เหตุใดจึงต้องเป็นที่หมู่บ้านตางโกก? หมู่บ้านตางโกกนี้ เป็นหมู่บ้านหนึ่ง ซึ่งเป็นว่ามีภูมิศาสตร์ ที่น่าสนใจมาก สำหรับประเทศกัมพูชา ถ้าเรามองแผนที่ของประเทศนี้ จะดูหลายหัวใจ หมู่บ้านนี้อยู่ใน จังหวัดกำปงธม ซึ่งเป็นจังหวัดกลางประเทศพอดี นับว่าผู้คนจากทุกทิศสามารถมาที่นี่ได้ในระยะทางที่ เกือบจะเท่าๆ กัน  แต่สิ่งที่สำคัญยิ่งกว่าตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ หมู่บ้านแห่งนี้ เป็นหมู่บ้านสุดท้าย ที่พระสังฆราชคนแรกของชาวกัมพูชา คือ พระคุณเจ้ายอแซฟ ชมา ซาละ พร้อมกับเพื่อนพระสงฆ์ และคริสตชนจำนวนหนึ่ง ได้ถูกกวาดต้อนโดยพวกทหารเขมรแดง เพื่อมาทำงานในท้องนา และได้ตาย…    หลุมฝังศพของท่านอยู่รวมกันกับหลุมฝังหมู่ ซึ่งไม่รู้ว่าใครเป็นใคร แต่เราได้เตรียมที่ดินแปลง หนึ่ง ซึ่งไม่ไกลจากวัดพุทธ(วัดทลา) ซึ่งมีหลุมฝังศพรวมในหมู่บ้านตางโกก เพื่อระลึกถึงท่านรวมถึงบรรดาเพื่อนมรณสักขี ที่ตายด้วยสาเหตุต่างๆ กันทั่วประเทศ ในระหว่างปี 1970-1977  คือในช่วง สงครามกับเวียดกง และต่อมาในระบอบคอมมิวนิสต์เขมรแดง สิ่งที่ยังเหลืออยู่เป็นอนุสาวรีย์คือ แคร่ไม้ซึ่งเคยเป็นที่นอนของท่าน ถูกเก็บรักษาไว้ในกระท่อม ภายในกระท่อมนี้ มีภาพของพระสังฆราชและเพื่อน พระสงฆ์ ที่ถูกฆ่าตาย

        คริสตชนรุ่นใหม่ ได้รับรู้เรื่อราวของพวกเขา ผ่านทางพยาน ซึ่งนับวันก็จะมีน้อยลงไปทุกที ดังนั้น ในวันที่ 6 ธันวาคม 2011 พระศาสนจักรในกัมพูชาผ่านคณะกรรมการ จำนวนหนึ่งซึ่งมีพระสังฆราช โอลีวีเย์ (พระสังฆราช)ผู้แทนสันตะสำนัก (Apostolic Vicar) ได้รับอำนาจจากหัวหน้าสันตะสำนัก(Apostolic Prefect)อีกสองท่านจากเขตปกครองมิสซังกำปงจามและบัดดำบอง ได้ตกลงกัน ว่า เราจะเริ่มขบวนการแต่งตั้งพวกเขาเหล่านั้นเป็นนักบุญมรณสักขี โดยไม่เชิญคุณพ่อ โรลองซ์ จาค ผู้ดำเนินเรื่อง (Postulator) การเป็นมรณสักขีในประเทศลาวมา เป็นผู้บรรยาย แนะนำ คณะกรรมการ โดยใช้ภาษาฝรั่งเศสในการประชุม

      นั่นเป็นการเริ่มต้นของการเข้าสู่ขบวนการสืบสวนกรณีผู้ที่อาจเป็นมรณสักขีได้ ในประเทศ กัมพูชา ขอให้พี่น้องคริสตชนเราทุกคน มีความกล้าหาญที่จะเป็นพยานถึงพระเยซูเจ้าและพระวรสาร ด้วยชีวิต ฉบับหน้าผมจะมาเล่าต่อถึง การดำเนินงานในเรื่องนี้ต่อครับ ขอพระเยซูเจ้าคุ้มครองท่านเสมอ.

 

 

 

admin@admin.com

About Author

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 16

การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน           งานธรรมทูต คืองานประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระอาณาจักรของ พระเจ้า เราเห็นไม่ได้ แต่ถ้าที่ใดมีกลุ่มคริสตชน นั่นก็เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เรามีความหวังที่จะได้เห็น พระอาณาจักรของพระเจ้าตรงนั้น   พระศาสนจักรคือ เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ของพระอาณาจักรพระเจ้า           ในเขตวัดที่ผมดูแลอยู่นั้น กำลังมีกลุ่มคริสตชนใหม่เกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มที่จะแบ่งปันให้ผู้อ่านฉบับนี้ คือ กลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน
บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 1

ความเชื่อ ที่เป็นชีวิต ของ น.เลโอปอลโด (แห่งปาดัว)        สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เร่ิมต้นปี ก็เป็นเวลาที่ดี ที่เราจะเร่ิมต้นรื้อฟ้ืนถึงความเชื่อ เของเรากันอีกครั้งนะครับ ซึ่งทุกๆกิจกรรมของเรา สามารถโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้ทั้งส้ิน ผ่านทางการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกเราแต่ละคน