การประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพ ในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 1
เรื่อง ขันติธรรมทางศาสนา
เดือนกันยายนที่ผ่านมา เป็นเดือนที่แม้จะเป็นช่วงปิดเทอมใหญ่ของเด็กๆ และเยาวชน ก็เป็น ช่วงเวลาที่ เรามีกิจกรรมต่างๆ เพื่อการอบรมพวกเขา กิจกรรมในระดับวัดส่วนใหญ่ก็จะเน้นเรื่องนี้ ดังนั้น ช่วงปิดเทอมจึงเป็นเหมือนช่วงเวลาทอง ที่จะอบรมเยาวชนของวัดอย่างต่อเนื่อง โดยมีพระสงฆ์ ตามวัดเป็นผู้ประสาน{besps}documents/frdenarticle/article21{/besps}
ส่วนในระดับมิสซัง มิสซังพนมเปญเอง ได้จัดกิจกรรมใหญ่ๆ สองงาน คือ การสัมมนา “ครูคำสอนผู้ใหญ่” ซึ่งเป็นการอบรมระดับชาติ เพราะมีตัวแทนครูคำสอนจากทุกมิสซัง มาร่วมกัน โดยเน้นการสอนคำสอนผู้ใหญ่ โดยมีการเตรียมตัวสำคัญๆ หลายช่วงตามขั้นตอนการรับ ผู้ใหญ่เป็นคริสตชน ซึ่งพระศาสนจักรที่นี่ให้ความสำคัญมาก แต่กระนั้นเราก็พบว่า เราขาดบุคลากร ด้านคำสอนอย่างมากทีเดียว
จากนั้น เรามีทิศทางงานอภิบาลสำหรับตลอดสามปีในพระศาสนจักรกัมพูชา คือ “ปีแห่งเมตตา ธรรม” เพื่อช่วยอบรมคริสตชน โดยมีแนวทางร่วมกัน ซึ่งแม้จะเป็นแนวทางหลักของมิสซังพนมเปญ แต่เขตปกครองอีกสองมิสซัง คือ ทางบัดดำบอง และกำปงจาม ก็รับแนวทางนี้ ไปแนะนำอบรมคริสตชน ในเขตทั้งสองด้วยเช่นกัน การสัมมนานี้เน้นบุคคลเป้าหมายที่มีส่วนในกิจกรรมของวัด ซึ่งได้แก่คณะ กรรมการและเยาวชน
ส่วนตัวผมเอง ได้ถูกส่งไปเป็นตัวแทนผู้นำศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก ของพระศาสนจักร กัมพูชา พร้อมกับพ่ออิน กุน พระสงฆ์เยสุอิตจากมิสซังบัดดำบอง ซึ่งถือว่าเป็นการเปิดประสบการณ์ใหม่ ให้กับผม ในเรื่องการเสวนาระหว่างศาสนา เพราะเรื่องนี้ต้องยอมรับว่า เป็นสิ่งที่ต้องขึ้นกับความถนัด และโอกาสในการสัมผัสพี่น้องต่างๆศาสนาของแต่ละคน
การประชุมครั้งนี้ มีชื่อว่า “การประชุมผู้นำศาสนาเพื่อสันติภาพ ในประชาคมอาเซียน ครั้งที่ 1 เรื่อง ขันติธรรมทางศาสนา” เจ้าภาพจัดงานมาจากการสนับสนุนของรัฐบาลไทย และมหาเถรสมาคมโดยมีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินการ ระหว่างวันที่ 24-29 กันยายน 2014ที่ผ่านมา
เวทีนี้มีจุดประสงค์เพื่อประกาศแนวทาง เพื่อสร้างความเป็นหนึ่งเดียวกัน ระหว่างประเทศต่างๆ ในสิบประเทศสมาชิกอาเซียน(ASEAN) เพื่อก่อสร้างสันติภาพ เป็นพิเศษ เพื่อสอดคล้องกับเสาหลักหนึ่งในสามเสาหลักคือ การบูรณาการทางด้านสังคม และวัฒนธรรม โดยมีหัวข้อหลักเรื่อง “ขันติธรรม ทางศาสนา” นี้มาจากแนวทางขององค์การยูเนสโกของสหประชาชาติ ได้ออกปฏิญาว่าด้วยหลักการเกี่ยว กับสันติธรรม(Declaration of Principle on Tolerance)เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 1995/2538
ผู้นำศาสนามาเรียนรู้เรื่องนี้ด้วยกัน ก่อนที่จะมีการประชุมในประชุมกลุ่มย่อยของแต่ละศาสนา ที่มาจากประเทศต่างๆ ในอาเซียน ในฝ่ายของพระศาสนจักรคาทอลิก มีตัวแทนเตรียมงาน คือ มงซินญอร์ วิษณุ ธัญญอนันต์มีตัวแทนเกียรติยศคือ พระคุณเจ้าชูศักดิ์ สิริสุทธิ์ และตัวแทนผู้นำ ศาสนาคือ คพ.ประยูร พงศ์พิศ
พระประธานเปิดงานคือ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ ผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
ได้ให้ข้อคิดให้เราพิจารณาจุดประสงค์ถึงการประชุมครั้งนี้ สำหรับอาเซียนคือ หนึ่ง เพื่อประโยชน์ของประชาชน สองคือ เพื่อสันติสุขของชาติ และสามเพื่อสามัคคีสุขในอาเซียน
ในวันเปิดการประชุม เรามีการแบ่งปันกันเกี่ยวกับหลัก”ขันติธรรม” โดยเฉพาะเพื่อแสวงหาจุด ร่วมกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ โดยเฉพาะในประชาคมอาเซียนที่จะเปิดในปี 2015 นี้นับว่า เป็น การพยายามเพื่อให้ฝ่ายศาสนาจากทุกชาติพร้อมที่จะมีคำตอบ สำหรับศาสนิกชนของตน และช่วยกัน ส่งเสริมความเคารพกันและกัน บนขันติธรรมของศาสนา เราได้ฟังการบรรยายพิเศษ ของพระพรหม บัณฑิต. ศ.ดร.อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้ให้ข้อคิดเรื่อง “ขันติธรรมทาง ศาสนา” โดยเริ่มแรกทำให้เราเห็นสภาพทางศาสนาของอาเซียน เรามีพื้นฐานต่างกันมาก แค่ศาสนา ก็มีความต่างกันหลายหลาก แต่เราสามารถเป็นหนึ่งเดียวกันได้ในความหลากหลาย โดยเข้าใจคำว่า “ขันติธรรม” ซึ่งหมายถึง การเคารพ การยอมรับ และความชื่นชมในความหลากหลายมากมายใน วัฒนธรรมต่างๆของโลก โดยถือว่า นั่นเป็นการแสดงออกของความเป็นมนุษย์ ดังนั้น ขันติธรรม ไม่ใช่แค่มีกับศาสนาต่างๆ แต่สำหรับคนที่ไม่มีศาสนาด้วย
เรามีการอภิปราย ในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับคำสอนบางอย่าง ที่อาจจะช่วยเรื่องสันติภาพ ในการอยู่ร่วมกัน กิจกรรมต่างๆ ที่พวกผู้นำศาสนาได้ทำคือ หาหลักขันติธรรมของแต่ละศาสนา ด้วยกัน โดยสันติสนทนา และในวันสุดท้าย เราได้มีลงนามด้วยกันเรียกว่า “ปฏิญญาอยุธยาว่าด้วยการอยู่ ร่วมกันอย่างมีขันติตามหลักศาสนาในประชาคมอาเซียน” ซึ่งเป็นการเตรียมความพร้อม สำหรับการรวมกันเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต และนี่เป็นความพยายามระดับมหภาค
สิ่งที่ท้าทายสำหรับพวกเราทุกคนคือ หน้าที่ของเราในระดับจุลภาค หรือในระดับครอบครัว ในระดับวัด หรือในระดับประเทศ ต้องมุ่งส่งเสริมกิจกรรมในทางรูปธรรม เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจนี้ ต้องยอมรับว่า แต่ละสังฆมณฑล(ไทย) แต่ละมิสซัง(ในกัมพูชา) ยังขาดผู้มีความเข้าใจในความแตกต่าง ระหว่างศาสนา ความไม่รู้หลายครั้งเป็นสาเหตุของความกลัวที่จะคุยกัน และบางครั้งก็ทำให้เกิดความเข้าใจผิดๆ
คำถามคือ เราจะเตรียมศาสนิกชนของเราอย่างไร เพื่อให้พร้อมจะติดต่อกับพี่น้องต่างความเชื่อ ความท้าทายมีมากมายสำหรับตัวเราเองว่า การทำอย่างไรถือจะมีความสมดุลระหว่างการประกาศพระวรสาร และการทำศาสนสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราสามารถทำได้ทันทีคือ การเริ่มติดต่อแบบ “มิตรภาพฉันท์มิตร” จากนั้น เมื่อรู้จักคุ้นเคย ค่อยๆก้าวหน้าในความสัมพันธ์ในระดับที่ลึกขึ้น และสร้าง ความร่วมมือเพื่อการร่วมกันอย่างสันติ อาจจะเป็นการเยี่ยมเยี่ยนกัน, การเรียนรู้ความเชื่อ, การปฏิบัติ ทางศาสนา, การร่วมมือกันทางด้านสังคมและงานเมตตา
ถ้าพระเป็นเจ้าเป็นองค์แห่งสันติธรรม เราก็ต้องปฏิบัติกับเพื่อนพี่น้อง เพื่อสร้างสันติธรรมแก่กัน และกันด้วย เหมือนที่องค์พระเยซูเจ้าได้เคยบอกเราว่า “ผู้ใดแสวงหาสันติภาพ ผู้นั้นจะได้พบองค์พระผู้ เป็นเจ้า”(มธ.5:7)