บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 22

   ฉลอง 20 ปี สัมพันธ์ทางการทูต กัมพูชา-วาติกัน    

     วันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2014 เป็นอีกวันหนึ่งที่ประวัติศาสตร์ของพระศาสนจักรกัมพูชา และ ประเทศกัมพูชาต้องบันทึกไว้ เพราะเป็นวันที่ทั้งสองฝ่ายได้ทำการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูต กันอย่างเป็นทางการ หลายท่านอาจจะสงสัยว่า พระศาสนจักรในประเทศกัมพูชามีมาตั้งนานแล้ว แต่ไม่มีความ สัมพันธ์ทางการทูตกับพระศาสนจักรหรือ? ครับ…ถูกต้องแล้วครับ เพราะพระศาสนจักรเป็นสถาบันทาง ศาสนา เป็นองค์กรทางศีลธรรม กิจกรรมต่างๆ ที่ทำไปคือเน้นเรื่องความดีทางสังคม และ ความสุขสงบ ทางจิตใจ องค์กรที่เป็นตัวแทนของพระศาสนจักรคาทอลิกทั้งมวลคือ “สันตะสำนัก”(Holy See) โดยมี พระสันตะปาปา เป็นผู้นำสูงสุด มีโรมันคูเรียเป็นองค์กรช่วยฝ่ายบริหาร ซึ่งรับรู้รับรองจากกฎหมาย สากล ดังนั้น พระศาสนจักรเกิดขึ้นไม่ว่าในที่ใด ก็จะเป็นสถาบันทางศาสนา ซึ่งแต่เดิม ยังไม่มีองค์ ประกอบแบบรัฐ {besps}2014/20thvaticancambodia{/besps}


      เมื่อใดที่รัฐใช้กฎหมายของศาสนาเป็นหลัก ก็จะเป็นรัฐทางศาสนา ซึ่งจะมีโครงสร้างของรัฐ คือมี เขตแดน, มีประชาชน และ มีกฏหมายศาสนา แต่สำหรับพระศาสนจักรคาทอลิก ได้แยกโครงสร้าง อำนาจทางศาสนากับการเมืองในรูปของรัฐออกจากกัน โดยอำนาจทางศาสนามี “สันตะสำนัก” เป็นตัว แทน ด้วยเหตุนี้ “สันตะสำนัก” ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของพระศาสนจักรทั้งมวล 
          จนกระทั้งปี 1929 ได้เกิดการทำสนธิสัญญาลาเตรัน ระหว่างสันตะสำนักและอาณาจักรอิตาลี ทำให้เกิดรัฐใหม่ขึ้นอีกในโลกคือ “รัฐวาติกัน” ซึ่งเป็นรัฐที่ไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ปกครองโดยโครงสร้างคล้าย รัฐทางโลก แต่มีจุดมุ่งหมายทางจิตวิญญาณ ซึ่งทำให้สันตะสำนัก ที่มีส่วนหนึ่งที่เป็นอำนาจรัฐ นั่นคือ “วาติกัน” ซึ่งปัจจุบันรัฐนี้ ถือได้ว่าเป็นรัฐหรือประเทศที่เล็กที่สุดในโลก แต่ได้ทำสัมพันธ์ทางการทูต กับประเทศ มากที่สุด คือ 180 ประเทศ และกับองค์กรระดับนานาชาติอีกจำนวนหนึ่ง
           พระราชอาณาจักรกัมพูชา มีคริสตศาสนาตั้งแต่ปี 1555 โดยการเข้ามาของธรรมทูตชาว โปรตุเกส สันตะสำนักในยุคนั้น มีสัมพันธ์ผ่านทางอำนาจทางการเมืองด้วย เช่น ประเทศโปรตุเกส และ ฝรั่งเศส ในกาลต่อมา พระศาสนจักรในกัมพูชา ได้ก่อตั้งขึ้นพร้อมกับบรรดาธรรมทูต ร่วมชะตากรรม พร้อมกับประวัติศาสตร์ของประเทศกัมพูชา ไม่ว่าจะเป็นยุคสงครามระหว่างอาณาจักร ยุคอาณานิคม ยุคเอกราช และสงครามภายในประเทศ ฯลฯ จนกระทั่งปี 1990 พระศาสนจักรได้รับอนุญาตให้ ประกอบ พิธีกรรมสาธารณะครั้งแรกในโอกาสสมโภชปัสกาและปีใหม่เขมร
จนกระทั่งในปี 1992 พระคุณเจ้าอีฟลามุส(1963-1975, 1992-2001) ได้เริ่มประสานงาน ทำให้ เกิดความสัมพันธ์ทางการทูตกันระหว่างสันตะสำนัก ในที่สุด ได้เปิดให้มีความสัมพันธ์ทางการทูต โดย เริ่มอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 15 มีนาคม 1994 โดยมีสมณทูต ที่ได้รับการแต่งตั้งองค์แรกคือ ฯพณฯ ลุยจี แบรสซาน โดยมีที่พำนักอยู่ที่สถานทูตวาติกัน ในกรุงเทพฯ ปัจจุบันมี สมณทูตเปาโล ชาง อินนัม โดยเริ่มประจำการในปี 2013 
          พระคุณเจ้า โอลีวีเยร์ ชมิตเฮสเลย์ ได้จัดเตรียมการเฉลิมฉลอง ความสัมพันธ์ทางการทูตนี้ มีจุดประสงค์เพื่อประการแรกคือ ขอบคุณพระเป็นเจ้า ที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ กัมพูชาและสันตะสำนัก ช่วยสัตบุรุษเอง ได้รู้จักพระศาสนจักรคาทอลิกของตัวเอง ผ่านทางบทเทศน์ และนิทรรศการ โดยมีกิจกรรมแรกคือ มิสซาบูชาขอบพระคุณ ที่วัดน.ยอแซฟ พนมเปญ มีสัตบุรุษมา ร่วมงานจากทั่วประเทศประมาณ 1,500 คน พร้อมกับพระคุณเจ้าทุกองค์ โดยมีพระสมณทูตเปาโล ชาง อินนัม มาร่วมด้วย ในช่วงเช้าของวันที่ 29 ตุลาคม 2014
ประการที่สองคือ เพื่อใช้โอกาสนี้เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างศาสนาอื่นๆ โดยให้พี่น้องต่าง ความเชื่อ ต่างนิกาย ได้รู้จักและเข้าใจพระศาสนจักรคาทอลิก โดยมีการอธิษฐานเพื่อสันติภาพร่วมกัน โดยมีตัวแทนศาสนาหลักๆ จากศาสนาพุทธ ทั้งสองนิกาย, จากศาสนาอิสลาม และจากพี่น้องคริสเตียน ซึ่งจัดที่ศูนย์มิสซังพนมเปญ ที่เขตพนมเปญใหม่ ซึ่งจัดในช่วงบ่าย ของวันที่29 ตุลาคม 2014
        ประการที่สาม คือ เพื่อให้ทางราชการ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จากกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องคือ กระทรวงการต่างประเทศ, กระทรวงมหาดไทยและ กระทรวงศาสนาและวัฒนธรรม ได้รู้จักและเข้าใจ บทบาท โดยเฉพาะด้านสังคมและศาสนา ของพระศาสนจักรคาทอลิกมากขึ้น โดยเชิญเจ้าหน้าที่ทุก ระดับ ตั้งแต่ระดับการปกครองท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน จนถึงระดับชาติ คือ จากกระทรวง ทบวง กรม ต่างๆ ได้มาสัมมนาและทานอาหารร่วมกัน ซึ่งจัดที่ศูนย์มิสซัง ในช่วงเช้าของวันที่ 30 ตุลาคม 2014
        และประการสุดท้าย เพื่อสร้างความสัมพันธ์เข้าใจอันดี ระหว่างประเทศกับสันตะสำนัก ในทาง การทูต โดยมีกระทรวงต่างประเทศเป็นตัวแทนกัมพูชา และพระสมณทูต เป็นตัวแทนฝ่ายสันตะสำนัก พร้อมกับบรรดาตัวแทนสถานทูต จากประเทศต่างๆ ประมาณ 16 ชาติ ที่มาร่วมความยินดีในครั้งนี้ โดย จัดที่โรงแรมแคมโบเดียนา ในช่วงเย็นของวันที่ 30 ตุลาคม 2014
ผลของกิจกรรมนี้ เป็นโอกาสที่จะทำให้พระศาสนจักร ได้เป็นที่รู้จักอย่างถูกต้อง ในกิจกรรม ต่างๆ ที่พระศาสนจักรได้ทำ อย่างที่พระศาสนจักรเป็นอยู่ เพื่อศักดิ์ศรีของมนุษย์และสังคม ผ่านทางกิจ เมตตาต่างๆ และยังส่งผ่านทางความสัมพันธ์ที่ดีนี้ไปทุกกลุ่ม ทุกระดับในสังคมประเทศกัมพูชา โดยมุ่ง หวังเพื่อความรอดพ้นฝ่ายวิญญาณด้วย ซึ่งจะส่งผลดีสำหรับการทำงานทั้งในเรื่องงาน อภิบาลและงาน ประกาศพระวรสาร ที่เราสามารถทำได้โดยเคารพสิทธิ เสรีภาพทาง ศาสนาซึ่งกันและกัน ตามที่ได้มี กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
       พระเป็นเจ้าได้มอบเครื่องมือต่างๆ เพื่อทำให้โลกได้รู้จักพระองค์และพระศาสนจักรของพระองค์ ดังนั้น ทุกฝ่ายทุกระดับที่เกี่ยวข้องได้ทำหน้าที่ต่างๆ อย่างดี เพื่อพระอาณาจักรของพระองค์ในโลกนี้ โดยเฉพาะในประเทศกัมพูชา ซึ่งเป็นสิทธิและหน้าที่ของคริสตชนทุกคนด้วย(กฎหมายพระศาสนจักร มาตรา 208, 211)

admin@admin.com

About Author

บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 16

การก่อตั้งกลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน           งานธรรมทูต คืองานประกาศพระอาณาจักรของพระเป็นเจ้าบนแผ่นดินนี้ พระอาณาจักรของ พระเจ้า เราเห็นไม่ได้ แต่ถ้าที่ใดมีกลุ่มคริสตชน นั่นก็เป็นเครื่องหมายที่ทำให้เรามีความหวังที่จะได้เห็น พระอาณาจักรของพระเจ้าตรงนั้น   พระศาสนจักรคือ เครื่องหมายศักดิ์สิทธิ์ (ศีลศักดิ์สิทธิ์) ของพระอาณาจักรพระเจ้า           ในเขตวัดที่ผมดูแลอยู่นั้น กำลังมีกลุ่มคริสตชนใหม่เกิดขึ้นสองกลุ่ม กลุ่มที่จะแบ่งปันให้ผู้อ่านฉบับนี้ คือ กลุ่มคริสตชนที่เปรกตาแตน
บทความของมิชชั่น

บทความของมิสชั่น ฉบับที่ 1

ความเชื่อ ที่เป็นชีวิต ของ น.เลโอปอลโด (แห่งปาดัว)        สวัสดีครับ ผู้อ่านที่รักทุกท่าน เร่ิมต้นปี ก็เป็นเวลาที่ดี ที่เราจะเร่ิมต้นรื้อฟ้ืนถึงความเชื่อ เของเรากันอีกครั้งนะครับ ซึ่งทุกๆกิจกรรมของเรา สามารถโยงเข้ามา เกี่ยวข้องกับความเชื่อ ได้ทั้งส้ิน ผ่านทางการดำเนินชีวิตตามกระแสเรียกเราแต่ละคน