การก่อตั้งคณะธรรมทูตไทยหรือThai Missionary Society (TMS)
1. 1983 พระอัครสังฆราชเรนาโตมาร์ตีโนได้กล่าวปราศรัยต่อที่ประชุมสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยเรื่องการเป็นธรรมทูต กฎหมายใหม่ของพระศาสนจักรได้เน้นจิตตารมณ์การเป็นธรรมทูต การที่สภาฯได้พิจารณาเรื่องการเสริมสร้างพระศาสนจักรในประเทศไทยให้พึ่งตนเองได้จึงเป็นการดีแต่จะสำเร็จได้ก็ต่อเมื่อคริสตชนมีจิตตารมณ์ของการเป็นธรรมทูตเรื่องพระสงฆ์-นักบวช ให้พระสงฆ์นักบวชมีจิตตารมณ์การเป็รธรรมทูตอย่างลึกซึ้ง ขอให้เน้นชีวิตฝ่ายจิตของครอบครัวคาทอลิกและการแพร่ธรรมกับคนต่างศาสนา (วิสามัญ 17-19พ.ค.1983 หน้า 6)เน้นการเป็นธรรมทูตตามแนวคิดของพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 (สามัญ 7-10ก.พ. 1984)
2. 1984-1985 ชมรมนักบวชชาย-หญิง เสนอผลศึกษาพระดำรัสของพระสันตะปาปา จอห์น ปอล ที่ 2 (อาสนวิหารอัสสัมชัญ 11 พ.ค. 1984) สมาชิกของพระศาสนจักรต้องมีส่วนร่วมในภารกิจแห่งการเป็นธรรมทูต (สามัญ 25-28 ก.พ. 1985 หน้า 4 ข้อ 8)
3. 1986 การจัดบุคลากรสำหรับงานสำคัญและเร่งด่วน พระคุณเจ้าเทียนชัย สมานจิต เสนอให้พิจารณาเรื่องบุคลากรสำหรับการประกาศศาสนาท่ามกลางชาวเขาซึ่งน่าจะเป็นงานเร่งด่วน..ที่ประชุมรับทราบและขอให้คณะอนุกรรมการจัดPriorities สำหรับประเทศไทยรับไว้พิจารณาด้วย (สามัญ 18-21 ก.พ. 1986 หน้า8-9 ข้อ 8) ตั้งคณะกรรมการจัดลำดับความสำคัญของโครงการอนาคตของพระศาสนจักรในประเทศไทย(สามัญ 11-14ส.ค. 1986 หน้า 11)
4. 1987 ชมรมนักบวชชายเสนอให้สภาฯพิจารณาจัดตั้งคณะธรรมทูตในประเทศไทย สภาฯมอบให้คณะกรรมการon missions ได้พิจารณา (สามัญ 17-20 ก.พ.1987 หน้า 8 ข้อ 5) พระสมณทูตกล่าวปราศรัยต่อสภาฯ ถึงโครงการตั้งคณะธรรมทูตย่อมแสดงถึงความเป็นหนึ่งเดียวกันซึ่งเราจะต้องพยายามสร้างขึ้น (สามัญ 17-20 ส.ค. 1987)
5. 1988 พระสมณทูตแจ้งให้ทราบว่า กระทรวงเผยแพร่ความเชื่อ ขอให้ดำเนินการต่อเรื่อง”คณะธรรมทูตในประเทศไทย” คณะกรรมการงานธรรมทูตกำลังพิจารณาร่างระเบียบและข้อกำหนดเกี่ยวกับโครงการจัดตั้งคณะธรรมทูตคาทอลิกไทย (สามัญ23-26 ก.พ. 1988 หน้า 6 และหน้า 14 ข้อ 5)
6. 1988 โครงการที่ 8 จัดตั้งคณะธรรมทูตคาทอลิกในประเทศไทยเหตุผล
– เพื่อเป็นแหล่งทรัพยากรบุคคลในประเทศ
– เพื่อส่งเสริมจิตตารมณ์การเป็นธรรมทูตในพระศาสนจักร
ผู้รับผิดชอบ คณะกรรมการงานธรรมทูต
ข้อเสนอแนะ
– ควรกำหนดหลักการหรือจุดประสงค์ที่ชั
– จนควรสรรหาบุคคลที่มีพระพรพิเศษ( Charism) มาเป็นผู้ริเริ่มงานนี้ ตามแบบผู้ก่อตั้งคณะธรรมทูตอื่นๆ
– ส่งร่างธรรมนูญที่ได้พิจารณาแล้วให้พระสังฆราชทุกองค์ศึกษาก่อนการประชุมวิสามัญ วันที่ 16-18 พ.ย. 1988
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
– คณะธรรมทูตนี้จะมาแทนที่โครงการจับคู่
– งานประกาศพระวรสารและงานอภิบาลในท้องถิ่นที่ขาดแคลนบุคลากรจะได้รับการตอบสนอง (สามัญ 15-18ส.ค. 1988 ภาคผนวก หน้า 3-4)
7. 1988-1989 ร่างธรรมนูญคณะธรรมทูตในประเทศไทย เสนอต่อสภาฯ ร่างโดยพระสงฆ์ MEP (คุณพ่อกอสเต)และPIME (คุณพ่ออาดรีอาโน) (วิสามัญ 16-18ส.ค. 1988) พระสมณทูตได้แจ้งให้ทราบว่าสมณกระทรวงแพร่ธรรมชื่นชมในโครงการคณะธรรมทูตคาทอลิกไทย สภาฯได้พิจารณาร่างธรรมนูญของคณะธรรมทูตคาทอลิกแห่งประเทศไทยและมีมติให้ปรับปรุงใหม่
ก.ไม่จำกัดฉพาะคนไทยเท่านั้น
ข. ความศรัทธาต่อพระนางพรหมจารีมารีอาควรเป็นจิตตารมณ์ของคณะด้วย
ค.ควรเริ่มจากพระสงฆ์และสามเณรก่อน นักบวชหญิงและฆราวาสเป็นอาสาสมัคร
ง. ควรพิจารณาเรื่องสถานที่ตั้งคณะ
ที่ประชุมได้มอบหมายให้พระคุณเจ้าบรรจง อารีพรรค ร่วมกับตัวแทนพระสงฆ์คณะ MEP และ PIME พิจารณาปรับปรุงแก้ไขร่างธรรมนูญดังกล่าว ขณะเดียวกันสามารถประกาศรับสมัครพระสงฆ์และสามเณรที่สนใจ เพื่อพวกเขาจะได้มีส่วนร่วมปรับปรุงและรับรู้ธรรมนูญด้วย(สามัญ 20-23ก.พ. 1989 หน้า 4,6)
8. 1989 คณะธรรมทูตคาทอลิกนั้น จะเริ่มดำเนินงานนี้ในบ้านเณรใหญ่ก่อน โดยคุณพ่อดังโตแนลเป็นผู้ดำเนินการ แต่จะไม่ละเลยคนอื่นหรือกลุ่มอื่น โดยไม่มุ่งเฉพาะเณรที่สมัครเป็นสมาชิกคณะธรรมทูตเท่านั้น แต่มุ่งสร้างสำนึกให้เณรทุกคนตระหนักถึงภารกิจธรรมทูตของตน
สภาฯมีมติ ให้คุณพ่ออาดรีอาโนเป็นอธิการคณะธรรมทูต ซึ่งกำลังศึกษาแนวทางในการฝึกอบรมธรรมทูต จะอบรมที่วัดแม่พระมหาการุณย์ มีเณรสมัครและได้รับการอนุญาตจากพระสังฆราชของตน (สามัญ 14-17 ส.ค. 1989 หน้า 11 ข้อ 8.1)
9. 1993 พระสมณทูตอัลแบร์โต ตรีการิโก้ได้ปราศรัยในสภาฯ เน้นถึงความสำคัญของจิตตารมณ์ ธรรมทูตของพระ ศาสนจักร แจงให้ทราบว่าทางสมณกระทรวงประกาศพระวรสาร พอใจที่เห็นความก้าวหน้าของงานในด้านการจัดตั้งคณะมิสชันนารีของประเทศไทย เฉพาะอย่างยิ่ง ที่มีการดำเนินงานในบ้านเณรใหญ่ของประเทศไทยและมีสนามทำงานกับพวกชาวเขามีข้อตกลงระหว่างคณะธรรมทูตกับสังฆมณฑลที่ส่งธรรมทูตไปทำงาน (สามัญ 14-17ส.ค. 1990 หน้า 29) ทุกกิจการที่ทำต้องขึ้นกับพระสังฆราชท้องถิ่นนั้นๆ พยายามทำเหมือนกับมิสชั่นนารีในยุคแรกๆทุกประการ. (สามัญ 15-17/03/93 หน้า16)
พระอัครสังฆราชฟรังซิสเซเวียร์เกรียงศักดิ์ โกวิทวาณิชเป็นประธานในการเลือกตั้งคณะกรรมาธิการสูงสุดของคณะธรรมทูตไทย 19-01-2011
10. 1993 คณะธรรมทูตเป็นงานของสภาพระสังฆราชตั้งแต่แรกเริ่มแต่เนื่องจาก“ร่าง” ธรรมนูญของคณะยังไม่ได้รับรองจึงทำให้ต้องดำเนินกันต่อๆมาแบบไม่มีธรรมนูญเป็นเกณฑ์ จึงมีปัญหาพอสมควร (สามัญ 15-17 มี.ค. 1993)
11. 1994 มติที่ สสท.19/1994, 10/10- รับหลักการให้คณะธรรมทูตคาทอลิกแห่งประเทศไทยมีสภาพเป็นคณะ (Society) มิใช่กลุ่มส่งเสริมจิตตารมณ์ธรรมทูต (สามัญ 21-23/03/94 หน้า 22-23)
12. 1994 มติที่ สสท.27/1994, 10/10 – รับรองธรรมนูญของคณะธรรมทูตคาทอลิกแห่งประเทศไทย และให้ทดลองปฏิบัติชั่วคราวเป็นเวลาสามปี โดยแก้ไขเรียบเรียงใช้ภาษาใหม่แล้วส่ง Bureau ก่อนสิ้นปีนี้ (1994) (สามัญ19-22/09/94 หน้า 12)
13. 1998 สภาฯเห็นชอบให้มีสมาชิกถาวรของคณะธรรมทูตฯได้ (สามัญ 23-25 มี.ค. 1998หน้า 7,17)
14. 1996-2001 พระดำรัสสมเด็จพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 “ ข้าพจ้ารู้สึกขอบคุณพระคุณเจ้าสำหรับบรรดาพระสงฆ์ของคณะธรรมทูตไทย ซึ่งเป็นผลสุกงอมที่พระศาสนจักรได้เพาะปลูกไว้ สมาชิกของคณะฯจึงได้ออกไปป่าวประกาศข่าวดีทั้งในประเทศและต่างประเทศ ข้าพเจ้าขอฝากการสนับสนุนผ่านพระคุณเจ้าไปยังบรรดานักบวชชาย-หญิงผู้ซึ่ง “มีส่วนในพันธกิจของพระคริสตเจ้าตามที่ได้ถวายตัวแล้วกับพระเจ้า” (Vita Consecrata, n.77) ให้มีความมานะพยายามอีกครั้งที่จะช่วยให้พระอาณาจักรของพระเจ้าเจริญเติบโตขึ้นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ความกระตือรือร้นในความพยายามประกาศพระวรสารนี้ ต้องถ่ายทอดให้เยาวชนในบ้านเณรและอาราม สนับสนุนให้พวกเขามีการอุทิศตนเองด้วยใจกว้างและกล้าหาญในการเผยแผ่ข่าวดี” (พระดำรัสฯถึงสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยในโอกาส Visit ad limina ค.ศ.1996) “ปัจจุบัน ความพยายามในการประกาศพระวรสารที่เคยเป็นของมิสชันนารีนั้น จะต้องได้รับการปฏิบัติโดยชนชาวเอเชียเป็นอันดับแรก งานเร่งด่วนในการประกาศพระวรสารในประเทศของพวกท่านขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตที่เป็นประจักษ์พยาน การอุทิศตนเองที่ร้อนรน และการแสดงออกซึ่งมวลพลังของชาวคาทอลิกไทยทุกคน เช่นเดียวกัน คณะธรรมทูตไทย ซึ่งก่อตั้งไม่กี่ปีมานี้ เป็นผลที่แสดงความเจริญก้าวหน้าแห่งพระศาสนจักรท้องถิ่นของท่าน ควรที่จะได้รับการสนับสนุนอย่างใกล้ชิด เหตุว่าโดยการให้ผู้อื่น จะทำให้ท่านได้รับทุกสิ่งที่ท่านต้องการจากองค์พระคริสตเจ้า” (พระดำรัสฯถึงสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทยในโอกาส Visit ad limina ค.ศ.2001)
ศึกษาและเรียบเรียงโดย คุณพ่อ เปโตรรังสรรค์ ภานุรักษ์ TMS (25-09-09
(อ้างอิงตามเอกสารบันทึกการประชุมของสภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย ปี 1981-2002)