ประวัติศูนย์คาทอลิกเวียงแก่น โดยสังเขป
ธรรมทูตไทย TMS ย่อมาจาก Thai Missionary Society เริ่มมาจากการเห็นชอบของสภาพระสังฆราชคาทอลิก แห่งประเทศไทยเห็นควรที่จะส่งธรรมทูตไทยไปประกาศข่าวดีแห่งความรอดให้กับคนที่ยังไม่รู้จัก พระคริสตเจ้าทั้งในและนอกประเทศ
ปี ค.ศ. 1990สภาพระสังฆราชจึงแต่งตั้งพระสังฆราช ยอแซฟ บรรจง อารีพรรค เป็นหัวหน้าร่วมกับคุณพ่อยอห์นมารี ดังโตแนล คณะ MEP และ คุณพ่ออาดรีอาโน เปโลซิน คณะ PIME เป็นผู้เริ่มงานธรรมทูต โดยรวบรวมสมาชิกที่สนใจ และ จัดการอบรบ วิถีชีวิตของธรรมทูตและเรียนรู้วัฒนธรรมของชาวไทยภูเขาที่จะไปแพร่ธรรมกับกลุ่มชนนั้น
ในปีเดียวกัน มีการเข้าเงียบประจำปีของคณะ คุณพ่ออาดรีอาโนเป็นผู้นำการเข้าเงียบในวันท้ายของการเข้าเงียบ คุณพ่อ ได้เชิญชวนซิสเตอร์จำนวน 2 คน จากคณะพระกุมารเยซูให้มาร่วมงานธรรมทูตทำงานทางภาคเหนือ
ซิสเตอร์เวโรนิกาเมื่อได้รับฟังการเชื้อเชิญจึงรู้สึกถึงกระแสเรียกที่ชัดเจนสำหรับตนเอง เป็นข่าวดีรู้สึกตื่นเต้นเหมือนได้พบ เพชรเม็ดงามเพราะใจกำลังแสวงหาการแพร่ธรรมกับคนจน ซึ่งคณะได้เน้นอยู่บ่อยๆ จึงได้สมัครเป็นธรรมทูตคนแรก ต่อจากนั้นเป็น ซิสเตอร์เบอร์นาร์ด คณะได้ส่งซิสเตอร์ทั้งสองเข้ารับการอบรมกับกลุ่มธรรมทูตเป็นเวลา 1 ปี ที่บ้านคริสติน่า ปากเกร็ด นนทบุรี หลังจากนั้นไปเรียนภาษาม้งที่จังหวัดเชียงใหม่ จนถึงเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1992 ธรรมทูตรุ่นแรก คุณพ่ออนุรักษ์ ประจงกิจ อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ คุณพ่อรังสรรค์ ภานุรักษ์ สังฆมณฑลอุดรธานี ซิสเตอร์คณะพระกุมารเยซู IJ ซิสเตอร์เบอร์นาร์ด ตรีธารา ซิสเตอร์เวโรนิกา สุริยะมงค และ นางสาวสิริรักษ์เกษตรบริบูรณ์ สัตบุรุษวัดนักบุญมาร์โก ได้ถูกส่งไปทำงานกับ ชาวม้งที่อำเภอเชียงของและอำเภอเวียงแก่น จังหวัดเชียงราย
งานอภิบาล และแพร่ธรรม
เนื่องจากคุณพ่อแฮรี่ ทีล พระสงฆ์คณะพระมหาไถ่ ผู้รับผิดชอบคริสตังค์ชาวม้งหลายหมู่บ้านหลายจังหวัดทั่วสังฆมณฑล เชียงใหม่ ได้มอบพื้นงานแพร่ธรรม ในส่วนของจังหวัดเชียงราย มอบหมายให้กับคณะธรรมทูตไทย ซึ่งในเวลามีกลุ่มธรรมทูตไทยชุดแรก เมื่อเห็นภาระงานและลักษณะทางภูมิศาสตร์ จึงแบ่งหน้าที่และเขตความรับผิดชอบออกเป็น 2 เขต คือ คุณพ่ออนุรักษ์ และซิสเตอร์เบอร์นาร์ด ประจำอยู่อำเภอเวียงแก่น ส่วนคุณพ่อรังสรรค์ ซิสเตอร์เวโรนิกา และสิริรักษ์ ประจำอยู่อำเภอเชียงของ และทำงานควบคู่กับคาทอลิกทางสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชน ลาว ซึ่งอำเภอเชียงของเป็นเขตแนวชายแดน มีแม่น้ำโขงกั้นพรมแดนระหว่างไทยและสาธารณรัฐประชาธิป ไตยประชาชนลาว คืออำเภอห้วยทราย จังหวัดบ่อแก้ว มีด่านตรวจ คนเข้าเมือง ให้นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศข้ามไปท่องเที่ยว มีการค้าระหว่างคนเชียงของและคนลาวเป็นประจำทุกวัน
ภารกิจในเขตอำเภอเวียงแก่นหรือที่เรียกว่า ศูนย์คาทอลิกเวียงแก่น ตั้งอยู่ที่ 294 หมู่ 7 ต.ม่วงยาย อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย 57310 ห่างจากศูนย์มิสซังเชียงใหม่ 350 กิโลเมตร ห่างจากตัวเมืองจังหวัดเชียงราย 140 กิโลเมตร มีคุณพ่ออนุรักษ์ ประจงกิจ และซิสเตอร์เบอร์นาร์ด ตรีธารา เป็นผู้รับผิดชอบ โดยมีทีมงาน คือ ครูคำสอนชาวม้ง 1 คน ต้องรับผิดชอบ 17 หมู่บ้าน อยู่บริเวณเชิงเขา การเดินทางขึ้นค่อนข้างลำบาก ระยะแรกได้พักอยู่ในหมู่บ้านห้วยหลู้กับครูคำสอนชั่วคราว เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง มี 138 หลังคาเรือน มีคาทอลิก 12 ครอบครัว มีวัดประจำหมู่บ้าน ไม่มีไฟฟ้าและโทรศัพท์ติดต่อได้ในขณะนั้น
หลังจากได้อาศัยอยู่กับครูคำสอนชั่วคราวแล้ว ได้เริ่มสร้างบ้านพักและขุดน้ำบาดาลไว้ใช้ในหมู่บ้านห้วยหลู้ ในขณะนั้น ได้ออกเยี่ยมชาวบ้านและทำความรู้จักกับชาวบ้าน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และให้บริการตรวจฟัน-ถอนฟัน ให้กับชาวบ้าน ซึ่งได้รับ การอนุเคราะห์จากศิษย์เก่าที่เป็นหมอฟัน รวมทั้งอุปกรณ์ทางการแพทย์ มีอาสาสมัครและผู้มีน้ำใจดีจากกรุงเทพฯ มาช่วยเหลือ กิจกรรมในครั้งนี้ถือเป็นการเปิดตัว แนะนำชาวบ้านให้รู้จักและรับรู้ว่าซิสเตอร์เข้ามาทำงานในบริเวณนี้
วัดที่อยู่ในความรับผิดชอบของศูนย์มี 6 หลัง
- วัดพระกุมาเยซุ หมู่บ้านไทยสามัคคี อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
- วัดบุญราศรี ทั้งเจ็ดแห่งประเทศไทย หมู่บ้านห้วยหลู้ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
- วัดนักบุญมัทธิว หมู่บ้านห้วยลึก อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
- วัดนักบุญเทเรซา หมู่บ้านห้วยแล้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
- วัดนักบุญมารธา หมู่บ้านทรายทอง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
- วัด …………………… หมู่บ้านผาตั้ง อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย
พื้นที่ทำงาน เขต มิสซังเชียงใหม่ ทำงานแพร่ทำกับชาวโม้ง เขตอำเภอ เวียงแก่น เทิง หมู่บ้านชาวโม้งทั้งหมดประมาณ 33 หมู่บ้าน มีคริสตชนประมาณ 17 หมู่บ้าน มีวัด 6 วัด (ปี 2007 คาทอลิก 320 คน เตรียมล้างบาป 500 คน) มีครูสอนคำสอน 1 คน ผู้นำสวดตามหมู่บ้าน 6 คน
งานด้านการศึกษาและหอพักเด็กนักเรียน ปี ค.ศ. 1994 เด็กชาวเขาในหมู่บ้าน ไม่มีโอกาสเรียนหนังสือ เนื่องจากไม่มีโรงเรียนในหมู่บ้าน ผู้รับ ผิดชอบจึงพยายาม ที่จะเปิดหอพัก ให้เด็กได้มีโอกาสที่จะเจ้ามาศึกษาในเขตอำเภอเวียงแก่น เพื่อให้เด็กได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง และจะอบรมเด็กใน ทุกๆ ด้าน ในที่สุด มีผู้บริจาคซื้อที่ดินให้สร้างวัดและบ้านพักเด็ก เริ่มการสร้างบ้านพักและวัดเป็นกระต๊อบมุงด้วยหญ้าคา ทางศูนย์ฯจึง ได้เริ่มรับเด็กชาย 6 คน เด็กหญิง 6 คน โดย ยังไม่ทราบว่าจะเอาอะไรมาเลี้ยงเด็ก จึงได้ปลูกดอกไม้ขาย แต่ก็ไร้ผล คุณพ่ออาดรีอาโน ได้สอนว่า “ไม่ต้องกลัว ถ้าซิสเตอร์ทำงานกับคนจน พระเจ้าจะดลใจให้คนช่วยเหลือ” ในที่สุด สิ่งที่คุณพ่อพูดก็เป็นจริง มีผู้บริจาคเข้าให้ ความช่วเหลือจากบ้านพักกระต๊อบมุงด้วยหญ้าคา ได้กลับกลายเป็นบ้านที่ก่อด้วยอิฐและปูน รวมทั้งวัดด้วย จำนวนเด็กได้เพิ่มขึ้นเป็นลำดับ จนถึง 80 คน ในเวลาต่อมา ภายในหมู่บ้านเองได้มีการจัดตั้งโรงเรียนขึ้น ทางศูนย์ฯ จึงมีนโยบายงดรับเด็กที่หมู่บ้านมีโรงเรียน และ ทางศูนย์ฯ จะรับเด็กไม่เกิน 60 คน เพื่อที่จะดูแลเด็กให้ทั่วถึงและเกิดผลดี
ปี ค.ศ. 1997 ทางคณะพระกุมารเยซู ได้เปิดบ้านหลังใหม่ในอำเภอเวียงแก่น เพื่อให้ซิสเตอร์ได้มีโอกาสมาประชุมและพบปะกันเป็น ครั้งคราวเกณฑ์การคัดเลือกเด็กที่จะมาอยู่ในศูนย์ฯ จะพิจารณาโดยเด็กจะต้องมาจากครอบครัวยากจน ขาดคนดูแลเอาใจใส่ เช่น เป็นเด็กกำพร้าพ่อ/แม่ และเด็กต้องไปอาศัยอยู่กับย่า/ยาย ที่ชราแล้ว พ่อติดคุกลูกแม่หม้ายหรือพ่อ/แม่ที่หย่าร้างและไม่รับผิดชอบดูแล ลูกของตนพ่อ/แม่ พิการ เด็กเหล่านี้จะได้รับการพิจารณาให้เข้ามาอยู่ในความดูแลของศูนย์ฯ ในด้านการอบรมจะฝึกให้เด็กมีความรักช่วย เหลือกันรู้จักการแบ่งปัน การให้อภัย ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ เคารพในศักดิ์ศรีผู้อื่น รักษาขนบธรรมเนียมและ วัฒนธรรมอันดีงาม รู้จักเลือกในสิ่งที่ถูกต้อง ไม่ขัดต่อศีลธรรม มีความเชื่อที่มั่นคงและตระหนักถึงความรักของพระเจ้าที่มีต่อเขา รู้จักขอบคุณพระในสิ่งที่ตนเองได้รับ
ปัจจุบันศูนย์คาทอลิกเวียงแก่น มีเด็กอยู่ในความดูแลจำนวนทั้งหมด 57 คน เป็นชาย 27 คน เป็นหญิง 30 คน อายุอยู่ระหว่าง 6-19 ปี การศึกษาตั้งแต่ในระดับอนุบาล 2 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นเด็กชั้นอนุบาล 2 คน ชั้นประถมต้น 19 คน ชั้นประถมปลาย 19 คน ชั้นมัธยมต้น 11 คน และชั้นมัธยมปลาย 6 คน ในจำนวนเด็กทั้งหมดนี้นับถือศาสนา คาทอลิก 31 คน ผี 21 คน โปรเตสแตนท์ 2 คน และพุทธ 1 คน คิดเป็นเด็กคาทอลิกร้อยละ 56 ที่อาศัยอยู่ในศูนย์ฯ
สถานการณ์ในปัจจุบันของศูนย์ ฯ มีความลำบาก เพราะมีค่าใช้จ่ายมากกว่ารายได้ เนื่องจากของกินของใช้มีราคาแพงขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายของเด็กแต่ละคนเฉลี่ยปีละ 10,000 บาท ซึ่งเป็นค่าอาหาร, ค่าไฟฟ้า, อุปกรณ์การเรียน (ค่าเล่าเรียน,ค่าหนังสือ), ค่าน้ำมันรถ, ค่าเดินทาง, ค่ารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ของใช้ต่างๆ ฯลฯ แม้ทางครอบครัวของเด็กๆ จะช่วยข้าวสารให้กับทางศูนย์ฯ ตามความสามารถ และทางศูนย์ฯ ได้รับความช่วยเหลือจากผู้มีจิตศรัทธา, จากโครงการลุ่มน้ำโขงบางส่วน และรายได้จากงานฝีมือเด็ก (วาดภาพ,ทำบัตร ส.ค.ส ที่คั่นหนังสือ) แต่ก็ยังไม่เพียงพอที่จะนำมาเป็นค่าใช้จ่าย
จากภารกิจของอำเภอเวียงแก่น จะเห็นว่า “ข้าวในนามีมาก คนงานมีน้อย” งานทำก็หลากหลาย เช่น งานอภิบาล งานด้านคำสอน งานสงเคราะห์ การศึกษา การพัฒนา และสุขอนามัย ฯลฯ
ศูนย์คาทอลิกเวียงแก่นเป็นศูนย์ฯ ที่เปิดต้อนรับทุกๆ คน ทั้งชาวไทยและต่างประเทศที่ต้องการเข้าเป็นอาสาสมัครชั่วคราวหรือตลอดไป เพื่อมาเก็บเกี่ยวประสบการณ์สำหรับตนเองและร่วมเป็นเครือข่ายให้การสนับสนุนช่วยเหลือทางศูนย์ฯ ต่อไป
งานอภิบาลทั่วๆไป
- ศูนย์หอพักเด็กนักเรียนที่ยากจน สอนคำสอน สอนพระคัมภีร์ เด็กนักเรียนในศูนย์
- เยี่ยมคนป่วยตามโรงพยาบาล ในหมู่บ้าน อบรมพ่อบ้านแม่บ้านคาทอลิก
- จัดการอบรมสอนคำสอนชาวบ้านเตรียมตัวรับศีลล้างบาปและศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
- จัดค่ายคำสอนภาคฤดูร้อนในเด็กคาทอลิกจากหมู่บ้านต่างๆเพื่อเตรียมรับศีลศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ
งานแพร่ธรรมพิเศษ
- ทุกวันเสาร์เว้นเสาร์ อบรมเตรียมพระวาจาวันอาทิตย์ให้ครูสอนคำสอน และ ผู้นำสวด ที่ศูนย์
- โครงการสัมผัสชีวิตชาวบ้านของนักเรียนจากประเทศสิงคโปร์ ปีละ2-3 รุ่น รุ่นละประมาณ 20-40 คน
ปัญหาอุปสรรค
- ปัญหายาเสพย์ติดและความยากจนของชาวบ้านในหมู่บ้านต่างๆ
- ปัญหาการมีแม่หม้ายเพราะสามีทิ้งหรือ ติดคุกและปัญหาของลูกกำพร้า
ความหวัง
- ความเชื่อและความหวังในการทำงานมีอยู่เสมอเพราะงานแพร่ธรรมเป็นงานของพระ
- มีคนสนใจและมาสมัครเข้ารับความเชื่อเป็นคริสตชนอยู่เรื่อย
รูปกิจกรรมต่างๆของศูนย์ ปี 2012